วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ช้างไทยกับการทารุณกรรม

ช้างไทยกับการทารุณกรรม.ppt

ช้างไทยกับการทารุณกรรม












































ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10

Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น เครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย พูดคุยเรื่อง Google Earth ได้ที่นี่กระทู้ การใช้ประโยชน์จาก Google Earth ที่ห้อง ครูอาจารย์ vCafe
หน้าที่ 2 - การนำไปให้บริการ
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
การให้บริการนี้ทำให้เกิดการให้บริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย การขนส่ง การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการทหารและการป้องกันประเทศอีกด้วย
ปัจจุบันมีการพัฒนาการให้บริการที่ผสมผสานกับข้อมูลของ Google Earth หลายอย่างเช่น ในธุรกิจอสังหารินทรัพย์ มีการแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกและชัดเจน การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงจะเอื้อประโยชน์ต่อรุกิจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับที่พักอาศัย บ้านเช่าต่าง ๆ
Google Earth ยังช่วยให้ธุรกิจงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
หน้าที่ 3 - คู่มือการใช้งาน (1)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Google Earth ดังนี้1. เริ่มต้นโดยการ search คำว่า “Google Earth” จากเว็บไซต์ www.google.comจากนั้น ทำการ Download program และทำการ Install program 2. เมื่อทำการ Install program เรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถเห็นหน้าจอการใช้งานดังรูป ด้านล่างนี้
ส่วนที่ 1 : การค้นหาตำแหน่งสถานที่ตั้ง (Search)เราสามารถทำการ Search ข้อมูลสถานที่ต้องการได้ โดยการกรอกข้อมูลลงในช่องกรอกรายละเอียดจากนั้นทำการกดปุ่ม Search โดยแบ่งเป็นประเภทของการค้นหาข้อมูลได้ 3 ลักษณะคือ- Fly to : ค้นหาแบบระบุชื่อสถานที่หรือกำหนดพิกัด- Local search : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการหาอะไรที่ไหน (เช่นหาร้าน Pizza ที่เมือง San Francisco, CA)- Directions : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการเดินทางจากเมืองต้นทางไปยังเมืองปลายทาง(โปรแกรมจะบอกเส้นทางว่าจะต้องเลี้ยวทิศไหนระยะทางเท่าไหร่บนถนนชื่ออะไร)
ภายหลังจากกดปุ่ม Search คำว่า bangkok (แบบ Fly to) โปรแกรมจะแสดงภาพของสิ่งที่เราค้นหา
หน้าที่ 4 - คู่มือการใ้ช้งาน (2)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่ ส่วนที่ 2 : การเลือกสถานที่สำคัญจากทั่วโลก (Places)เราสามารถทำการค้นหาสถานที่สำคัญที่ต้องการจากทั่วโลกได้ โดยการคลิกที่ชื่อสถานที่นั้น(สามารถเพิ่มเข้าไปได้เองภายหลัง) และโปรแกรมจะแสดงภาพของสถานที่ดังกล่าวเช่นเดียวกับใช้คำสั่งFly to ใน Search*ในภาพคือ Olympic, Sydney NSW, Australia
ส่วนที่ 3 : แสดงตำแหน่งที่ตั้งจากข้อความสำคัญ (Layer)เราสามารถทำการ เลือกให้โปรแกรมแสดงข้อมูลที่ต้องการลงบนแผนภาพได้ จากการเลือกหมวดของสิ่งที่ต้องการค้นหา เช่น Golf, School, Hospital, etc. เมื่อทำการเลือกหมวดที่ต้องการแสดงแล้ว หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการแสดงตำแหน่งของข้อมูลที่เราเลือกลงบนแผนภาพ
ให้แผนภาพแสดงขอบเขต (borders) ของประเทศต่าง
หน้าที่ 5 - คู่มือการใช้ (3) (การดู 3 มิติ)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ส่วนที่ 4 : แสดงปุ่มการควบคุมแผนภาพ (Navigation Panel)เราสามารถทำการปรับการแสดงผลบนแผนภาพโดยการกดปุ่มต่างบน Navigation Panel- Zoom in, Zoom out : ขยายและย่อขนาดภาพ- Rotate left, Rotate right : หมุนภาพ - ปุ่มลูกศร : สำหรับเลื่อนแผนภาพไปยังทิศที่ต้องการ- Tilt up, Tilt down : เลื่อนองศาของการมองจากแนวราบถึงแนวดิ่ง (0-90 °)ภาพภูเขาไฟฟูจิเมื่อมองในแนวดิ่ง
ภายหลังจากปรับมุมมองและขยายภาพ


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/318

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

เกี่ยวกับ Google Scholar
Google Scholar คืออะไร Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
คุณลักษณะของ Google Scholar
· ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
· ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
· ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
· เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
บทความมีการจัดอันดับอย่างไรGoogle Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ
หมายเหตุจากทีมงานของ Google Scholar โปรด แจ้งให้เราทราบ หากคุณมีข้อเสนอแนะ คำถาม หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับ Google Scholar เราตระหนักดีว่าเราเป็นหนี้บุคคลทุกคนในสถาบันการศึกษา ซึ่งผลงานของบุคคลเหล่านั้นได้ทำให้ Google เป็นจริงขึ้นมา และเราปรารถนาที่จะทำให้ Google Scholar เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้เท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสที่จะยืนบนไหล่ของยักษ์
สำนักพิมพ์ - รวมสิ่งตีพิมพ์ของคุณไว้ใน Google Scholar

บรรณารักษ์ - ช่วยลูกค้าให้ค้นพบทรัพยากรในห้องสมุดของคุณ
Google Scholar สามารถเผยแพร่เนื้อหาของคุณให้มองเห็นได้ทั่วโลก เราทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์ทางวิชาการในการทำดัชนีผลงานจากสาขาการค้นคว้าวิจัยทั้งหมด และทำให้สามารถค้นหาผลงานนั้นได้บน Google Scholar เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายของเรา และค้นหาข้อมูลทางเทคนิคสำหรับสำนักพิมพ์และแวดวงวิชาการ

ที่มา
http://scholar.google.co.th/intl/th/scholar/about.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

กูเกิล


กูเกิล(Google Inc.)

ประเภท
บริษัทมหาชน (
แนสแด็ก: GOOG) , (LSE: GGEA)
ก่อตั้งเมื่อ
เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย(7 กันยายน 2541) [1]
ที่อยู่
เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย
บุคลากรหลัก
เอริก ชมิดต์ ผู้อำนวยการเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายเทคโนโลยีแลร์รี เพจ ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์
รายได้
US$21.796 พันล้าน▲56% (2551) [2]
จำนวนพนักงาน
ดู
ในส่วนผลิตภัณฑ์
คำขวัญ
Don't be evil
เว็บไซต์
www.google.comwww.google.co.th
กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) [ต้องการอ้างอิง] โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [3]
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [1] และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[4] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน

ทีมาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

กูเกิลแอปส์” นวัตกรรมการศึกษายุคใหม่แบบอี-เลิร์นนิ่ง
สถาบันการศึกษาหลายแห่งต่างพากันหันมาเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาในสถาบันของตน เพื่อมุ่งผลิตกำลังของชาติให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ โดยให้เป็นผู้รอบรู้และรู้รอบมากขึ้นด้วยการผสมผสานความก้าวล้ำนำสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับนักเรียนนักศึกษาแบบไร้พรมแดนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาช่วย ซึ่งเรียกว่าเป็นการเรียนแบบอี-เลิร์นนิ่ง
มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า “อี-เลิร์นนิ่ง (eLearning)” มากมาย ขอยกตัวอย่างสมาคมสโลน (Sloan Consortium) ได้ให้คำจำกัดความของ “การเรียนแบบอี-เลิร์นนิ่งหรือแบบออนไลน์ (eLearning/Online)” ว่าเป็นการเรียนการสอนที่ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 80-100 โดยนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดทางออนไลน์หรือทางอินเทอร์เน็ต และอาจจะไม่มีการเรียนการสอนโดยใช้การบรรยายในห้องเรียนเลย อนึ่ง การนำเสนอเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีสื่อออนไลน์มากมาย ที่อาจารย์สามารถนำไปใช้ผลิตสื่อการสอนออนไลน์ได้อย่างสะดวกและนักศึกษาก็สามารถใช้สื่อออนไลน์ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตเข้าถึงสื่อการเรียนและติดต่อสื่อสารกับอาจารย์และเพื่อนๆ ได้อย่างสะดวกเช่นกัน ตลอดวันละ 24 ชั่วโมง และสัปดาห์ละ 7 วัน มีเครื่องมือและสื่อออนไลน์มากมายที่สามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนแบบอี-เลิร์นนิ่งได้ อาทิ เครื่องมือช่วยค้นหา อีเมล์ วิดีโอออนไลน์ โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความแบบทันที วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ แอลเอ็มเอส และกระดานสนทนา เป็นต้น ในแง่ของเครื่องมือช่วยค้นหานั้นเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกโดยอันดับที่หนึ่งคือ “กูเกิล” อนึ่ง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี
กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนได้เข้าเฝ้าถวายการต้อนรับและได้ฟังกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งสรุปได้ว่า สมัยนี้อยากหาข้อมูลด้านอะไรก็ไปหาจาก “พระอาจารย์กู” ซึ่งหมายถึง “กูเกิล (www.google.com)” นั่นเอง
นอกจากบริการเว็บช่วยค้นหาแล้ว กูเกิลก็มิได้หยุดยั้งที่จะพัฒนาบริการอื่นๆ ออกมาให้บริการเช่นกัน ทั้งนี้ การที่กูเกิลเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างมากมายนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า กูเกิลใช้กลยุทธ์อย่างหนึ่งเข้าไปตีตลาดเว็บช่วยค้นหา นั่นคือ กลยุทธ์การพัฒนาบริการที่แตกต่าง (Differentiation) โดยกูเกิลมักจะมีบริการใหม่ๆ ออกมาเป็นระยะๆ ในขณะที่คู่แข่งรายอื่นยังไม่มีบริการนั้นๆ ล่าสุดเมื่อ 9 มิถุนายน 2552 กูเกิลก็ได้เปิดตัวบริการ “กูเกิลแอปส์ (Google Apps)” ซึ่งเป็นบริการการประยุกต์ใช้กูเกิลในงานต่างๆ รวมถึงงานด้านการศึกษา สำหรับบริการของกูเกิลแอปส์นั้น มีสามแบบ แบบแรกคือ กูเกิลแอปส์สแตนดาร์ดเอดิชั่น (Google Apps Standard Edition) เป็นบริการให้ใช้ฟรีสำหรับธุรกิจ ชมรม และองค์กรต่างๆ แบบที่สองคือกูเกิลแอปส์พรีเมียร์เอดิชั่น (Google Apps Premier Edition) เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจทุกประเภทแต่เป็นบริการแบบจ่ายค่าบริการประมาณ 50 เหรียญ หรือประมาณ 1,700 บาทต่อปี และแบบที่สามคือ กูเกิลแอปส์เอ็ดดูเคชั่นเอดิชั่น (Google Apps Education Edition) เป็นบริการให้ใช้ฟรีสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งใช้งานง่ายโดยไม่ต้องลงโปรแกรม สามารถตั้งชื่อโดเมนเนมของตนเอง ใช้นามแฝง และตั้งกลุ่มผู้ใช้เองได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์และช่วยลดต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้กับสถาบันการศึกษาอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า กูเกิลแอปส์เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง
ในอี-เลิร์นนิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนยุคใหม่นั้นไม่จำกัดผู้เรียนให้อยู่เฉพาะในห้องเรียนอีกต่อไปเพราะสามารถเชื่อมโยงผู้เรียนไปยังบริการของกูเกิลแอปส์ผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ในการเข้าถึงเนื้อหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในเรื่องที่ตนกำลังศึกษาอยู่กับผู้คนทั่วโลกก็จะทำให้นักศึกษามีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น
สำหรับกูเกิลแอปส์เอ็ดดูเคชั่นเอดิชั่นนั้น กูเกิลอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้รายอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนแต่เป็นอาสาสมัครหรือพนักงานของหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรใช้บริการโฆษณาฟรีได้ และมีพื้นที่ให้เก็บข้อมูลมากกว่า 7 กิกะไบต์ มีตัวอย่างบริการของกูเกิลแอปส์ อาทิ จีเมล์ (Gmail) กูเกิลทอล์ก (Google Talk) กูเกิลคาเลนเดอร์ (Google Calendar) และกูเกิลดอคส์ (Google Docs) เป็นต้น สำหรับ “จีเมล์” นั้นเป็นบริการอีเมล์ฟรีของกูเกิลซึ่งรองรับการใช้งานกว่า 50 ภาษารวมทั้งภาษาไทยซึ่งช่วยสนับสนุนผู้เรียนในการส่งจดหมายและแฟ้มงานต่างๆ ส่วน“กูเกิลทอล์ก” เป็นบริการส่งข้อความแบบทันทีและโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและอาจารย์ได้อย่างสะดวก ในแง่ของ “กูเกิลคาเลนเดอร์” เป็นบริการปฏิทินออนไลน์ที่ใช้จัดการ วางแผนงาน ประชุม และจัดทำปฏิทินการศึกษา เป็นต้น และ “กูเกิลดอคส์” เป็นบริการเอกสารออนไลน์ที่ให้ผู้เรียนจัดทำรายงานและแก้ไขเอกสารต่างๆ ได้ตามเวลาจริง อาทิ ใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศทำรายงาน เป็นต้น
มีตัวอย่างมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ในสหราชอาณาจักร ได้นำกูเกิลแอปส์ไปใช้ในการสอนนักศึกษาจาก 17 ประเทศ ประมาณ 30,000 คน โดยนักศึกษาแต่ละคนจะมีบัญชีผู้ใช้งานกูเกิลแอปส์ นักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวกไม่ว่าจะอยู่กันคนละแห่งหนใดในโลกก็ตาม อาทิ สนทนากับอาจารย์และเพื่อน และแบ่งปันแฟ้มเอกสาร เป็นต้น ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วยังสามารถใช้บัญชีผู้ใช้งานกูเกิลแอปส์เดิมได้เพื่อเข้าถึงหรือสร้างเครือข่ายสังคมร่วมกับเพื่อนในสถาบัน โดยจะส่งเสริมในเรื่องการให้ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างนักศึกษากับเพื่อนและรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว อาทิ รุ่นพี่อาจจะเข้าไปแนะนำการหางานให้กับรุ่นน้องหรือบัณฑิตที่จบใหม่ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยที่วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญก็เป็นแห่งแรกของไทยที่เปิดหลักสูตรแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูปแบบตามคำจำกัดความของสมาคมสโลนโดยให้อาจารย์และนักศึกษาติดต่อสื่อสารกันทางสื่อที่มีอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต อาทิ ใช้สไกป์ ใช้วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ใช้อีเมล์ และใช้กระดานสนทนา เป็นต้น รวมถึงการรับสมัครก็ทำผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมด นอกจากนี้ก็มีการนำซอฟต์แวร์ฟรีคือ มูเดิล ไปพัฒนาต่อจนได้ซอฟต์แวร์จัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเองขึ้นมาชื่อว่า “เอสซีไอทีพลัส (SCITplus)”ในแง่ของการใช้บริการกูเกิลนั้น มีตัวอย่างเช่น ใช้กูเกิลค้นคว้าหาข้อมูลในการศึกษาหาความรู้และทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและถ้าเป็นบทความต่างๆ ก็อาจค้นหาโดยใช้กูเกิลสกอลาร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสถาบันการศึกษาในไทยทั้งหลายก็ควรหันไปสนใจการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างอี-เลิร์นนิ่งแล้วนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น กูเกิลแอปส์ ไปพิจารณานำไปใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยเพื่อต่อยอดให้เยาวชนคนไทยทั้งหลายก้าวล้ำนำสมัยในระบบการศึกษายุคใหม่

ทีมา http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2518&Itemid=39