วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งงาน การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC

การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC

แก้ไขหัวข้อโปรเจ็ก



ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

Google Scholar คืออะไร Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
คุณลักษณะของ Google Scholar
· ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
· ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
· ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
· เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
บทความมีการจัดอันดับอย่างไรGoogle Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ
หมายเหตุจากทีมงานของ Google Scholar โปรด แจ้งให้เราทราบ หากคุณมีข้อเสนอแนะ คำถาม หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับ Google Scholar เราตระหนักดีว่าเราเป็นหนี้บุคคลทุกคนในสถาบันการศึกษา ซึ่งผลงานของบุคคลเหล่านั้นได้ทำให้ Google เป็นจริงขึ้นมา และเราปรารถนาที่จะทำให้ Google Scholar เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้เท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสที่จะยืนบนไหล่ของยักษ์


ที่มา http://scholar.google.co.th/intl/th/scholar/about.html

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

8 ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากกรณีกูเกิ้ลถอนตัวออกจากจีน
Thu, 2010-03-25 21:52
หลังจากที่กูเกิ้ลประกาศถอนเว็บค้นหาข้อมูลออกจากจีน และตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็นของฮ่องกงที่ไม่มีการเซนเซอร์แทน เว็บไซต์ข่าวฮัฟฟิงตันโพสท์ ก็นำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากกูเกิ้ลถอนตัวจากจีน
หลังจากที่กูเกิ้ลประกาศถอนเว็บค้นหาข้อมูลออกจากจีน และบอกว่าพวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็นของฮ่องกงที่ไม่มีการเซนเซอร์แทน (www.google.com.hk)
เว็บไซต์ข่าวฮัฟฟิงตันโพสท์ (Huffington Post) ก็นำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากกูเกิ้ลถอนตัวจากจีนไว้ดังนี้
1. หยุดการเติบโตทางนวัตกรรมเว็บไซต์ Wired รายงานถึงการสำรวจของเนเจอร์นิวส์ (Nature News) ที่ระบุว่านักวิทยาศาสตร์จีนถึงร้อยละ 84 คิดว่าถ้าเขาไม่สามารถเข้าสู่กูเกิ้ลได้จะทำให้กระบวนการทำงานของพวกเขาเสียไป เช่นเดียวกับชาวอเมริกัน นักวิจัยชาวจีนก็ใช้กูเกิ้ล และกูเกิ้ลสกอลาร์ (Google Scholar) ในการค้นหาข้อมูล มีนักวิจัยคนหนึ่งกล่าวว่า การวิจัยโดยไม่มีกูเกิ้ลก็เหมือนชีวิตที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
2. การเซนเซอร์ยิ่งขยายตัวขณะที่กูเกิ้ลย้ายหนีจากจีนไปยังฮ่องกง แต่ประเทศจีนก็ตอบโต้ด้วยการบล็อกเว็บกูเกิ้ลในฮ่องกงเพราะไม่ต้องการให้คนจีนแผ่นดินใหญ่เห็นผลการค้นหาที่ไม่ถูกเซนเซอร์ แต่ก็อาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้รายอื่นด้วย เดอะ นิวยอร์กไทม์ รายงานว่าผู้ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์จากการค้นหาที่ถูกกรองในเว็บกูเกิ้ลฮ่องกงได้ เนื่องจากไฟร์วอลล์ของรัฐบาลจีนอาจใช้การจำกัดไม่ให้ค้นหาคำต้องห้ามหรือบล็อกลิงค์นั้น ๆ ไป ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนเคยทำกับกูเกิ้ลก่อนหน้านี้ แต่ในตอนนี้ผู้ใช้อีกมากกว่าล้านรายต้องเจอกับปัญหาการเข้าถึงเว็บ คนในกูเกิ้ลระบุอีกว่าพวกเขาตกใจและแปลกใจกับการตอบโต้ของจีน
3. ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แย่ลงการกระทำของกูเกิ้ลทำให้คนจีนบางคนแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง หลายคนถึงขั้นพาลไม่พอใจรัฐบาลสหรัฐฯ ไปด้วย สื่อรัฐบาลจีนวิจารณ์การที่กูเกิ้ลขู่จะถอนตัวออกจากจีนว่าเป็นการสมคบคิดทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐฯ เว็บไซต์ FT ระบุว่าการที่กูเกิ้ลย้ายเว็บค้นข้อมูลจากจีนไปฮ่องกง เป็นข้อพิสูจน์ว่าพื้นที่ส่วนนี้ของจีนเป็นเหมือนโอเอซิสแห่งเสรีภาพ แต่มันยังเป็นการทดสอบความอดทนของรัฐบาลจีนในประเด็นที่อ่อนไหวมาก เช่นที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนคนหนึ่งเคยพูดไว้หลังเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ว่า "ใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการโค่นล้มรัฐบาลของประชาชน"
4. ถูกตัดการบริการอื่นๆการถอนตัวของกูเกิ้ลทำให้บริการของกูเกิ้ลอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้ในจีนกระทบไปด้วย 'บริษัท ไชน่าโมบายล์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีบัญชีผู้ใช้ 527 ล้านราย ใช้กูเกิ้ลในการค้นหาและเป็นแผนที่ ผู้ใช้หลายล้านรายอาจไม่สามารถเข้าถึงบริการแผนที่ภาษาจีนได้ ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดของการถอนตัวของกูเกิ้ลอาจไปตกอยู่กับบริษัทของจีนซึ่งมีจำนวนมากที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้บริการโฆษณาของ AdWords รวมถึงจดหมายอิเล็กโทรนิคอย่าง Gmail
5. ผู้ถือหุ้นไม่พอใจ รายได้ลดแม้ว่ากูเกิ้ลจะทำรายได้จำนวนเพียงเล็กน้อยจากจีน แต่อย่างไรก็ตาม ZDNets รายงานว่า "คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ดคุณก็รู้ว่ากูเกิ้ลจะรู้สึกเจ็บกับการที่พวกเขาถูกกันออกจากตลาดอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก" Time ระบุว่า "นักวิเคราะห์ด้านการเงินบอกว่ารายได้ที่กูเกิ้ลได้จากจีนมีเพียงร้อยละ 1 ถึง 2 เมือเทียบกับรายได้จากทั่วโลก" แต่ในระยะยาวแล้วการถอนตัวออกจากตลาดที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดในโลกนั้น ดูไม่สมเหตุสมผลในแง่ธุรกิจเลย
6. การโฆษณาออนไลน์ก็ได้รับผลกระทบเว็บข่าวเทคโนโลยีของจีนทำลิสท์รายการโฆษณาในอินเตอร์เน็ตที่อาศัยเว็บกูเกิ้ลซึ่งจะสูญเสียพื้นที่ไปหากกูเกิ้ลถอนออกจากจีน และระบุว่า "การใช้ Adsense ของกูเกิ้ลในการโฆษณาของบริษัทจีน และการใช้กูเกิ้ลเป็นคู่หูทางการตลาดทำให้เกิดการเติบโตของสินค้าออนไลน์ในจีน" ซึ่งทั้งหมดนี้จะสูญเสียไป เว็บข่าวเทคโนโลยีของจีนบอกอีกว่า "จริงอยู่ที่การตลาดที่อาศัยเว็บค้นหาข้อมูลจะทำให้ง่ายกว่าเมื่อมุ่งเน้นไปที่เว็บค้นข้อมูลจำนวนไม่มาก แต่การมีทางเลือกที่มากขึ้นจะทำให้ชาวเน็ต, นักการตลาด และตัวสินต้าเองมีทางเลือกมากขึ้น"
7. แม้การเซนเซอร์ในจีนถูกเปิดโปง แต่ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นแม้ว่ากูเกิ้ลตัดสินใจหยุดการเซนเซอร์ผลการค้นหา และถึงขั้นสร้างเว็บเพื่อสอดส่องว่ามีข่าวสารใดบ้างที่ถูกบล็อกโดยรัฐบาลจีน
แต่ในขณะเดียวกัน การที่กูเกิ้ลถอนตัวจากจีนเพื่อทำตัวเหมือนเป็นฝ่ายพระเอกนั้น ZDNet ก็เตือนว่าการกระทำของกูเกิ้ลจะเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้ถือหุ้น และผู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเว็บ 2.0 ของกูเกิ้ล การที่กูเกิ้ลปิดสำนักงานในจีนกูเกิ้ลจะสูญเสียอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในระยะยาว กูเกิ้ลเองไม่ได้แม้แต่จะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญภายในจีนก่อนตัดสินใจเรื่องนี้เลย กูเกิ้ลต้องการคนเหล่านี้และต้องการพวกเราด้วย กูเกิ้ลจึงควรกลืนศักดิ์ศรีลงคอไปเสียและลองพิจารณาเรื่องนี้ดูอีกรอบ
8. ความเห็นด้านลบจากประชาชนขณะที่มีคนจำนวนมากชื่นชมการเคลื่อนไหวของกูเกิ้ลที่เป็นการต่อต้านการเซนเซอร์ แต่ก็มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนบางคนที่วิจารณ์การถอนตัวของกูเกิ้ล บีบีซีรายงานว่าขณะที่มีบางส่วนมารวมตัวกันหน้าสำนักงานในกรุงปักกิ่งเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ แต่ก็มีชาวจีนบางคนที่รู้สึกโกรธในเรื่องนี้
ในเว็บไซต์ sina.com.cn มีการให้ความเห้นว่า "กูเกิ้ลจงออกไปจากจีน" และ "ออกไปเสีย พวกเรามี Baidu อยู่แล้ว" (Baidu คือเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลสัญชาติจีน-ผู้แปล)
เศรษฐีของฮ่องกงจากบริษัทด้านโทรคมนาคมและอินเตอร์เน็ต TOM Online บอกว่าเขาจะหยุดใช้กูเกิ้ล


ที่มา http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28489

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2547 16:16 น. เนเจอร์- “กูเกิล” เปิดตัวระบบเสิร์ชเฉพาะทางฉบับทดลอง สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่ต้องการหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการชนิดละเอียดยิบ โดยคัดเลือกเฉพาะลิงค์มีคุณภาพ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ รองรับความต้องการของเหล่าผู้รอบรู้โดยเฉพาะ “กูเกิล” (google.com) เว็บไซต์บริการค้นหาข้อมูล หรือเสิร์ช เอนจิน (search engine) อันดับหนึ่งของโลก ได้เปิดตัว “กูเกิล สกอลาร์” (google scholar) ฉบับทดลอง (เบตา) ออกให้ใช้ฟรี เพื่อช่วยค้นหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการทั้งหลายแบบเจาะลึกครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ผ่านที่อยู่ หรือ ยูอาร์แอล http://scholar.google.com ซึ่งหวังว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจะสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะทางได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่นในการค้นหาวลีอย่าง “ฮิวแมน จีโนม” (human genome) ปกติแล้วกูเกิลธรรมดาจะแสดงผลเว็บที่เกี่ยวกับศูนย์พันธุกรรมต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงฐานข้อมูลและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมทั่วโลก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะมีประมาณ 450,000 รายการหรือมากกว่านั้น แต่กูเกิลสกอลาร์จะแสดงผลการค้นหาออกมาเพียงแค่ 113,000 รายการ และสิ่งที่พบก็ไม่ใช่เว็บไซต์ แต่เป็นผลงานการวิจัยในการสัมมนาต่างๆ เช่น รายการแรกที่พบเป็นบทความเรื่อง “อินนิเทียล ซีเควนซิง แอนด์ อนาไลซิส ออฟ เดอะ ฮิวแมน จีโนม” (Initial sequencing and anslysis of the human genome) ขณะที่กูเกิลเวอร์ชันปกติก็จะนำลิงค์องค์กรที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้ เป็นต้นเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์กูเกิล เปิดเผยว่า ข้อมูลที่ค้นพบจะถูกจัดลำดับ โดยเรียงตามความสำคัญของลิงค์ที่มาของเอกสารชิ้นนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มุ่งมองที่การค้นหาจำนวนลิงค์มาให้ได้มากที่สุด แต่มองกันที่คุณภาพของลิงค์ที่จะนำมาแสดงผล เช่น ลิงค์จากเว็บไซต์ของวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้านชีววิทยาชื่อดัง ย่อมจะมีความสำคัญมากกว่าลิงค์จากเว็บส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่งสำหรับเครื่องมือพื้นฐานของเจ้าสกอลาร์นี้มีหลักการคล้ายกับการค้นหาของเว็บกูเกิล ซึ่งเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์อย่างมีขั้นตอน และเป็นแผนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหน้าเว็บนั้นจะถูกเชื่อมต่อโดยพิจารณาจากความสำคัญและจำนวนผู้ใช้สูงสุดในการตอบรับการค้นหาโดยรูปแบบแล้วกูเกิล สกอลาร์จะทำการค้นหาโดยมองลึกลงไปถึงรายละเอียดของเนื้อหาและรูปแบบ เรียกได้ว่าดูทุกๆ หน้าของงานวิจัยชิ้นนั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการค้นหาแบบเก่าที่ปกติจะค้นหาแค่เพียงหัวข้อของงาน หากมีคำหรือวลีที่ตรงกับคำที่ระบุไว้ก็จะดึงมาเป็นลิงค์ ทั้งที่อาจจะไม่ใช่เรื่องนั้นเลย ส่วนฐานข้อมูลในการค้นหาของ “กูเกิล สกอลาร์” ฉบับทดลองนั้นได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มสำนักพิมพ์ของเนเจอร์ (Nature Publishing Group) สมาคมเครื่องกลและคอมพิวเตอร์ (the Association for Computing Machinery) และสถาบันไฟฟ้า (the Institute of Electrical) รวมถึงวิศวกรไฟฟ้า (Electronics Engineers) ซึ่งรวมอยู่ในระบบค้นหาที่เรียกว่า ครอสเรฟ เซิร์ช (CrossRef Search)นอกจากนี้ เมื่อผู้ใช้กูเกิลสำหรับนักวิจัยได้ค้นหาบทความต่างๆ ทางกูเกิลก็ค้นหาโดยละเอียดตามแหล่งข้อมูลที่กล่าวข้างต้น โดยเปิดให้ผู้ค้นหาได้คลิกกลับไปที่ไซต์เจ้าของบทความนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเว็บนั้นๆ กันไว้เป็นบทความเฉพาะสำหรับสมาชิก ก็จะเปิดอ่านได้หากสมัครสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ ไว้ แต่ถ้าไม่ ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครสมาชิกหรือจะได้อ่านส่วนสรุปของบทความ



ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000084855

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก




วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บริษัทพนันในอังกฤษขอซื้อหมึกยักษ์พอล




เครือข่ายรับพนันในอังกฤษสนใจเสนอซื้อหมึกยักษ์พอลจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเยอรมนี เพื่อไปเก็บไว้เอง หลังจากที่ทำนายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 100 %
วิลเลียม ฮิลล์ เครือข่ายรับพนันที่ถูกกฎหมายในอังกฤษ เกรงว่าการทำนายที่แม่นยำของหมึกยักษ์พอลจะส่งผลกระทบต่อฐานะของบริษัท จึงติดต่อไปยังพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ "ซีไลฟ์" ในเมืองโอเบอร์เฮาเซ่นขอซื้อพอลมาเก็บไว้เอง เพื่อไม่ให้ทำนายสิ่งใดอีก
ทั้งนี้มีรายงานว่า นักพนันที่เชื่อถือพอลมาตั้งแต่การทำนายครั้งแรก ถ้าวางเงินเดิมพันเริ่มต้นเพียง 10 ปอนด์ ( 480 บาท) จะสามารถทำเงินจากการชนะพนันได้ถึง 2,940 ปอนด์ (143,000 บาท) เมื่อถึงการทำนายครั้งสุดท้ายว่าสเปนจะเป็นแชมป์โลก
อย่างไรก็ตาม โฆษกของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ "ซี ไลฟ์" กล่าวว่า หมึกยักษ์พอลไม่ได้มีไว้ขาย โฆษกฯ ยอมรับว่ามีบริษัทพนันหลายแห่งและบริษัทอื่น ๆ ติดต่อขอซื้อพอล แต่ซีไลฟ์ยืนยันพอลจะอยู่สร้างความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ต่อไป
วิลเลียม ฮิลล์ ได้ออกราคารับพนันอนาคตของหมึกยักษ์พอล เริ่มตั้งแต่พอลจะมีคอลัมน์พยากรณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ พอลจะเป็นผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติอังกฤษคนต่อไป พอลจะถูกลักพาตัวโดยแฟนบอลเยอรมันที่ยังโกรธแค้น พอลจะถูกนักเตะเยอรมันจับกินเมื่อเดินทางกลับจากฟุตบอลโลก และพอลจะได้รับอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุดจากกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ของสเปน แต่ที่มีการออกราคาต่ำที่สุดคือพอลจะถูกย้ายไปอยู่ที่สเปน
ความแม่นยำในการทำนายผลฟุตบอลโลกของหมึกยักษ์พอล ทำให้ได้รับรางวัลถ้วยชนะเลิศฟุตบอลโลกจำลอง

สุดอึ้ง! แม่น้ำสายมรณะ คนแห่ฆ่าตัวตายนับพัน



เผยยอดชาวเกาหลีใต้แห่พยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำสายมรณะนับตั้งแต่ปี 2007 จนปัจจุบัน มีจำนวนสูงถึง 1,301 คน
(12ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีชาวเกาหลีใต้พยายามฆ่าตัวตายที่สะพานแม่น้ำฮัน หรือ แม่น้ำสายมรณะ เฉพาะตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน มีจำนวนถึง 232 ราย โดยมี 47 ราย สามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ จากการสำรวจพบว่า 166 รวย พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพาน ส่วนอีก 66 รายเป็นการเดินลงสู่แม่น้ำ และนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา มีชาวเกาหลีใต้พยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำสายนี้ถึง 1,301 คน มาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณทำให้แผนป้องกันความพยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำฮันของเกาหลีใต้ ดำเนินไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทีแรกตั้งใจจะติดกล้องวงจรปิดและราวป้องกัน แต่ปัจจุบันทำได้เพียงการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วน และโครงการรับปรึกษาป้องกันบุคคลฆ่าตัวตายแทนทั้งนี้ เกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่มีอัตราผู้หญิงฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่นับรวมญี่ปุ่นซึ่งมีสถิติผู้คนฆ่าตัวตายเป็นอันดับหนึ่ง

ช้างสัตว์ประจำชาติ




ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่เราอยู่ใกล้ไม่รู้จักกลัว คงจะเป็นเพราะเรารู้จักช้างมาตั้งแต่เด็ก และที่สำคัญช้างอยู่คู่เมืองไทยและคนไทยมาตั้งแต่โบราณ เราใช้ช้างเป็นพาหนะ เราใช้ช้างในการสงคราม เราถือว่าช้างเผือกเป็นช้างคู่บุญช้างคู่บารมีพระจักรพรรดิเป็นที่ 1 ใน 7 รัตนะ คือ “ช้างแก้ว” เราเชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น ครั้งหนึ่งเคย เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งมีช้างชื่อพญาฉัททันต์ เราใช้ช้าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ โดยธงชาติของเราก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ในสมัยรัชการที่ 6 เราใช้ธงช้างคือธงพื้นแดง มีช้างอยู่ตรงกลาง แม้เมือกรุงเทพ นี้ก็ใช้ตราสัญลักษณ์พระอินทร์ทรงช้าเอราวัณจนถึงบัดนี้