วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ช้างไทยกับการทารุณกรรม

ช้างไทยกับการทารุณกรรม.ppt

ช้างไทยกับการทารุณกรรม












































ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10

Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น เครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย พูดคุยเรื่อง Google Earth ได้ที่นี่กระทู้ การใช้ประโยชน์จาก Google Earth ที่ห้อง ครูอาจารย์ vCafe
หน้าที่ 2 - การนำไปให้บริการ
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
การให้บริการนี้ทำให้เกิดการให้บริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย การขนส่ง การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการทหารและการป้องกันประเทศอีกด้วย
ปัจจุบันมีการพัฒนาการให้บริการที่ผสมผสานกับข้อมูลของ Google Earth หลายอย่างเช่น ในธุรกิจอสังหารินทรัพย์ มีการแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกและชัดเจน การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงจะเอื้อประโยชน์ต่อรุกิจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับที่พักอาศัย บ้านเช่าต่าง ๆ
Google Earth ยังช่วยให้ธุรกิจงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
หน้าที่ 3 - คู่มือการใช้งาน (1)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Google Earth ดังนี้1. เริ่มต้นโดยการ search คำว่า “Google Earth” จากเว็บไซต์ www.google.comจากนั้น ทำการ Download program และทำการ Install program 2. เมื่อทำการ Install program เรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถเห็นหน้าจอการใช้งานดังรูป ด้านล่างนี้
ส่วนที่ 1 : การค้นหาตำแหน่งสถานที่ตั้ง (Search)เราสามารถทำการ Search ข้อมูลสถานที่ต้องการได้ โดยการกรอกข้อมูลลงในช่องกรอกรายละเอียดจากนั้นทำการกดปุ่ม Search โดยแบ่งเป็นประเภทของการค้นหาข้อมูลได้ 3 ลักษณะคือ- Fly to : ค้นหาแบบระบุชื่อสถานที่หรือกำหนดพิกัด- Local search : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการหาอะไรที่ไหน (เช่นหาร้าน Pizza ที่เมือง San Francisco, CA)- Directions : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการเดินทางจากเมืองต้นทางไปยังเมืองปลายทาง(โปรแกรมจะบอกเส้นทางว่าจะต้องเลี้ยวทิศไหนระยะทางเท่าไหร่บนถนนชื่ออะไร)
ภายหลังจากกดปุ่ม Search คำว่า bangkok (แบบ Fly to) โปรแกรมจะแสดงภาพของสิ่งที่เราค้นหา
หน้าที่ 4 - คู่มือการใ้ช้งาน (2)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่ ส่วนที่ 2 : การเลือกสถานที่สำคัญจากทั่วโลก (Places)เราสามารถทำการค้นหาสถานที่สำคัญที่ต้องการจากทั่วโลกได้ โดยการคลิกที่ชื่อสถานที่นั้น(สามารถเพิ่มเข้าไปได้เองภายหลัง) และโปรแกรมจะแสดงภาพของสถานที่ดังกล่าวเช่นเดียวกับใช้คำสั่งFly to ใน Search*ในภาพคือ Olympic, Sydney NSW, Australia
ส่วนที่ 3 : แสดงตำแหน่งที่ตั้งจากข้อความสำคัญ (Layer)เราสามารถทำการ เลือกให้โปรแกรมแสดงข้อมูลที่ต้องการลงบนแผนภาพได้ จากการเลือกหมวดของสิ่งที่ต้องการค้นหา เช่น Golf, School, Hospital, etc. เมื่อทำการเลือกหมวดที่ต้องการแสดงแล้ว หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการแสดงตำแหน่งของข้อมูลที่เราเลือกลงบนแผนภาพ
ให้แผนภาพแสดงขอบเขต (borders) ของประเทศต่าง
หน้าที่ 5 - คู่มือการใช้ (3) (การดู 3 มิติ)
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ส่วนที่ 4 : แสดงปุ่มการควบคุมแผนภาพ (Navigation Panel)เราสามารถทำการปรับการแสดงผลบนแผนภาพโดยการกดปุ่มต่างบน Navigation Panel- Zoom in, Zoom out : ขยายและย่อขนาดภาพ- Rotate left, Rotate right : หมุนภาพ - ปุ่มลูกศร : สำหรับเลื่อนแผนภาพไปยังทิศที่ต้องการ- Tilt up, Tilt down : เลื่อนองศาของการมองจากแนวราบถึงแนวดิ่ง (0-90 °)ภาพภูเขาไฟฟูจิเมื่อมองในแนวดิ่ง
ภายหลังจากปรับมุมมองและขยายภาพ


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/318

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

เกี่ยวกับ Google Scholar
Google Scholar คืออะไร Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
คุณลักษณะของ Google Scholar
· ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
· ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
· ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
· เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
บทความมีการจัดอันดับอย่างไรGoogle Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ
หมายเหตุจากทีมงานของ Google Scholar โปรด แจ้งให้เราทราบ หากคุณมีข้อเสนอแนะ คำถาม หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับ Google Scholar เราตระหนักดีว่าเราเป็นหนี้บุคคลทุกคนในสถาบันการศึกษา ซึ่งผลงานของบุคคลเหล่านั้นได้ทำให้ Google เป็นจริงขึ้นมา และเราปรารถนาที่จะทำให้ Google Scholar เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้เท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสที่จะยืนบนไหล่ของยักษ์
สำนักพิมพ์ - รวมสิ่งตีพิมพ์ของคุณไว้ใน Google Scholar

บรรณารักษ์ - ช่วยลูกค้าให้ค้นพบทรัพยากรในห้องสมุดของคุณ
Google Scholar สามารถเผยแพร่เนื้อหาของคุณให้มองเห็นได้ทั่วโลก เราทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์ทางวิชาการในการทำดัชนีผลงานจากสาขาการค้นคว้าวิจัยทั้งหมด และทำให้สามารถค้นหาผลงานนั้นได้บน Google Scholar เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายของเรา และค้นหาข้อมูลทางเทคนิคสำหรับสำนักพิมพ์และแวดวงวิชาการ

ที่มา
http://scholar.google.co.th/intl/th/scholar/about.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

กูเกิล


กูเกิล(Google Inc.)

ประเภท
บริษัทมหาชน (
แนสแด็ก: GOOG) , (LSE: GGEA)
ก่อตั้งเมื่อ
เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย(7 กันยายน 2541) [1]
ที่อยู่
เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย
บุคลากรหลัก
เอริก ชมิดต์ ผู้อำนวยการเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายเทคโนโลยีแลร์รี เพจ ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์
รายได้
US$21.796 พันล้าน▲56% (2551) [2]
จำนวนพนักงาน
ดู
ในส่วนผลิตภัณฑ์
คำขวัญ
Don't be evil
เว็บไซต์
www.google.comwww.google.co.th
กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) [ต้องการอ้างอิง] โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [3]
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [1] และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[4] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน

ทีมาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

กูเกิลแอปส์” นวัตกรรมการศึกษายุคใหม่แบบอี-เลิร์นนิ่ง
สถาบันการศึกษาหลายแห่งต่างพากันหันมาเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาในสถาบันของตน เพื่อมุ่งผลิตกำลังของชาติให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ โดยให้เป็นผู้รอบรู้และรู้รอบมากขึ้นด้วยการผสมผสานความก้าวล้ำนำสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับนักเรียนนักศึกษาแบบไร้พรมแดนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาช่วย ซึ่งเรียกว่าเป็นการเรียนแบบอี-เลิร์นนิ่ง
มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า “อี-เลิร์นนิ่ง (eLearning)” มากมาย ขอยกตัวอย่างสมาคมสโลน (Sloan Consortium) ได้ให้คำจำกัดความของ “การเรียนแบบอี-เลิร์นนิ่งหรือแบบออนไลน์ (eLearning/Online)” ว่าเป็นการเรียนการสอนที่ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 80-100 โดยนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดทางออนไลน์หรือทางอินเทอร์เน็ต และอาจจะไม่มีการเรียนการสอนโดยใช้การบรรยายในห้องเรียนเลย อนึ่ง การนำเสนอเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีสื่อออนไลน์มากมาย ที่อาจารย์สามารถนำไปใช้ผลิตสื่อการสอนออนไลน์ได้อย่างสะดวกและนักศึกษาก็สามารถใช้สื่อออนไลน์ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตเข้าถึงสื่อการเรียนและติดต่อสื่อสารกับอาจารย์และเพื่อนๆ ได้อย่างสะดวกเช่นกัน ตลอดวันละ 24 ชั่วโมง และสัปดาห์ละ 7 วัน มีเครื่องมือและสื่อออนไลน์มากมายที่สามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนแบบอี-เลิร์นนิ่งได้ อาทิ เครื่องมือช่วยค้นหา อีเมล์ วิดีโอออนไลน์ โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความแบบทันที วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ แอลเอ็มเอส และกระดานสนทนา เป็นต้น ในแง่ของเครื่องมือช่วยค้นหานั้นเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกโดยอันดับที่หนึ่งคือ “กูเกิล” อนึ่ง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี
กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนได้เข้าเฝ้าถวายการต้อนรับและได้ฟังกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งสรุปได้ว่า สมัยนี้อยากหาข้อมูลด้านอะไรก็ไปหาจาก “พระอาจารย์กู” ซึ่งหมายถึง “กูเกิล (www.google.com)” นั่นเอง
นอกจากบริการเว็บช่วยค้นหาแล้ว กูเกิลก็มิได้หยุดยั้งที่จะพัฒนาบริการอื่นๆ ออกมาให้บริการเช่นกัน ทั้งนี้ การที่กูเกิลเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างมากมายนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า กูเกิลใช้กลยุทธ์อย่างหนึ่งเข้าไปตีตลาดเว็บช่วยค้นหา นั่นคือ กลยุทธ์การพัฒนาบริการที่แตกต่าง (Differentiation) โดยกูเกิลมักจะมีบริการใหม่ๆ ออกมาเป็นระยะๆ ในขณะที่คู่แข่งรายอื่นยังไม่มีบริการนั้นๆ ล่าสุดเมื่อ 9 มิถุนายน 2552 กูเกิลก็ได้เปิดตัวบริการ “กูเกิลแอปส์ (Google Apps)” ซึ่งเป็นบริการการประยุกต์ใช้กูเกิลในงานต่างๆ รวมถึงงานด้านการศึกษา สำหรับบริการของกูเกิลแอปส์นั้น มีสามแบบ แบบแรกคือ กูเกิลแอปส์สแตนดาร์ดเอดิชั่น (Google Apps Standard Edition) เป็นบริการให้ใช้ฟรีสำหรับธุรกิจ ชมรม และองค์กรต่างๆ แบบที่สองคือกูเกิลแอปส์พรีเมียร์เอดิชั่น (Google Apps Premier Edition) เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจทุกประเภทแต่เป็นบริการแบบจ่ายค่าบริการประมาณ 50 เหรียญ หรือประมาณ 1,700 บาทต่อปี และแบบที่สามคือ กูเกิลแอปส์เอ็ดดูเคชั่นเอดิชั่น (Google Apps Education Edition) เป็นบริการให้ใช้ฟรีสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งใช้งานง่ายโดยไม่ต้องลงโปรแกรม สามารถตั้งชื่อโดเมนเนมของตนเอง ใช้นามแฝง และตั้งกลุ่มผู้ใช้เองได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์และช่วยลดต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้กับสถาบันการศึกษาอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า กูเกิลแอปส์เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง
ในอี-เลิร์นนิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนยุคใหม่นั้นไม่จำกัดผู้เรียนให้อยู่เฉพาะในห้องเรียนอีกต่อไปเพราะสามารถเชื่อมโยงผู้เรียนไปยังบริการของกูเกิลแอปส์ผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ในการเข้าถึงเนื้อหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในเรื่องที่ตนกำลังศึกษาอยู่กับผู้คนทั่วโลกก็จะทำให้นักศึกษามีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น
สำหรับกูเกิลแอปส์เอ็ดดูเคชั่นเอดิชั่นนั้น กูเกิลอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้รายอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนแต่เป็นอาสาสมัครหรือพนักงานของหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรใช้บริการโฆษณาฟรีได้ และมีพื้นที่ให้เก็บข้อมูลมากกว่า 7 กิกะไบต์ มีตัวอย่างบริการของกูเกิลแอปส์ อาทิ จีเมล์ (Gmail) กูเกิลทอล์ก (Google Talk) กูเกิลคาเลนเดอร์ (Google Calendar) และกูเกิลดอคส์ (Google Docs) เป็นต้น สำหรับ “จีเมล์” นั้นเป็นบริการอีเมล์ฟรีของกูเกิลซึ่งรองรับการใช้งานกว่า 50 ภาษารวมทั้งภาษาไทยซึ่งช่วยสนับสนุนผู้เรียนในการส่งจดหมายและแฟ้มงานต่างๆ ส่วน“กูเกิลทอล์ก” เป็นบริการส่งข้อความแบบทันทีและโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและอาจารย์ได้อย่างสะดวก ในแง่ของ “กูเกิลคาเลนเดอร์” เป็นบริการปฏิทินออนไลน์ที่ใช้จัดการ วางแผนงาน ประชุม และจัดทำปฏิทินการศึกษา เป็นต้น และ “กูเกิลดอคส์” เป็นบริการเอกสารออนไลน์ที่ให้ผู้เรียนจัดทำรายงานและแก้ไขเอกสารต่างๆ ได้ตามเวลาจริง อาทิ ใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศทำรายงาน เป็นต้น
มีตัวอย่างมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ในสหราชอาณาจักร ได้นำกูเกิลแอปส์ไปใช้ในการสอนนักศึกษาจาก 17 ประเทศ ประมาณ 30,000 คน โดยนักศึกษาแต่ละคนจะมีบัญชีผู้ใช้งานกูเกิลแอปส์ นักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวกไม่ว่าจะอยู่กันคนละแห่งหนใดในโลกก็ตาม อาทิ สนทนากับอาจารย์และเพื่อน และแบ่งปันแฟ้มเอกสาร เป็นต้น ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วยังสามารถใช้บัญชีผู้ใช้งานกูเกิลแอปส์เดิมได้เพื่อเข้าถึงหรือสร้างเครือข่ายสังคมร่วมกับเพื่อนในสถาบัน โดยจะส่งเสริมในเรื่องการให้ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างนักศึกษากับเพื่อนและรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว อาทิ รุ่นพี่อาจจะเข้าไปแนะนำการหางานให้กับรุ่นน้องหรือบัณฑิตที่จบใหม่ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยที่วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญก็เป็นแห่งแรกของไทยที่เปิดหลักสูตรแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูปแบบตามคำจำกัดความของสมาคมสโลนโดยให้อาจารย์และนักศึกษาติดต่อสื่อสารกันทางสื่อที่มีอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต อาทิ ใช้สไกป์ ใช้วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ใช้อีเมล์ และใช้กระดานสนทนา เป็นต้น รวมถึงการรับสมัครก็ทำผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมด นอกจากนี้ก็มีการนำซอฟต์แวร์ฟรีคือ มูเดิล ไปพัฒนาต่อจนได้ซอฟต์แวร์จัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเองขึ้นมาชื่อว่า “เอสซีไอทีพลัส (SCITplus)”ในแง่ของการใช้บริการกูเกิลนั้น มีตัวอย่างเช่น ใช้กูเกิลค้นคว้าหาข้อมูลในการศึกษาหาความรู้และทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและถ้าเป็นบทความต่างๆ ก็อาจค้นหาโดยใช้กูเกิลสกอลาร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสถาบันการศึกษาในไทยทั้งหลายก็ควรหันไปสนใจการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างอี-เลิร์นนิ่งแล้วนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น กูเกิลแอปส์ ไปพิจารณานำไปใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยเพื่อต่อยอดให้เยาวชนคนไทยทั้งหลายก้าวล้ำนำสมัยในระบบการศึกษายุคใหม่

ทีมา http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2518&Itemid=39

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบงานเรื่อง การสืบค้น E-Journals

http://www.mediafire.com/?8o73ov991n8da8x

E-book

http://http//www.ilovelibrary.com/book_detail_nologin.php?id=06600004158&group=

http://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87&as_ylo=&as_vis=1

http://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87&as_ylo=&as_vis=1

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

“กูเกิล สกอลาร์” เสิร์ชใหม่ เอาใจนักวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

Peter Jacso Takes on Google Scholar Finding Ghost Authors, Lost Authors, and Other Problems
Access the Full Text of the Entire Article
With all of the talk about Google Book Search lately, little has been written about Google Scholar. Now, in a lengthy and well-documented analysis (numerous screenshots) published in Library Journal, Dr. Peter Jacso from the University of Hawaii at Manoa, a monthly columnist for Gale/Cengage and a friend of ResourceShelf, documents some of the problems (two of them named in the title of the article) that he has found while using Google Scholar [GS] during the past several months. Actually, some of the problems go back years.
Here are just a few passages from Dr. Jacso’s article that we found to be of greatest interest:
They [the Google Scholar developers] decided—very unwisely—not to use the good metadata generously offered to them by scholarly publishers and indexing/abstracting services, but instead chose to try and figure them out through ostensibly smart crawler and parser programs.
Millions of records have erroneous metadata, as well as inflated publication and citation counts
A free tool, Google Scholar has become the most convenient resource to find a few good scholarly papers—often in free full-text format—on even the most esoteric topics. [Our emphasis] For topical keyword searches, GS is most valuable. But it cannot be used to analyze the publishing performance and impact of researchers.
Very often, the real authors are relegated to ghost authors deprived of their authorship along with publication and citation counts. [Our emphasis] In the scholarly world, this is critical, as the mantra “publish or perish” is changing to “publish, get cited or perish.”
[Our emphasis] While GS developers have fixed some of the most egregious problems that I reported in several reviews, columns and conference/workshop presentations since 2004—such as the 910,000 papers attributed to an author named “Password”—other large-scale nonsense remains and new absurdities are produced every day.
The numbers in GS are inflated for two main reasons. First, GS lumps together the number of master records (created from actual publications), and the number of citation records (distinguished by the prefix: [citation]) when reporting the total hits for author name search.
…fee-based Web of Science and Scopus have lower article and citation counts and scientometric indicators, as they have a far more selectively defined source base with fewer journals from which to gather publication and citations data. In addition, they count only the master records for the authors’ publication count (as they should), and keep the stray and orphan citations in a separate file.
Unfortunately, the bad metadata has a long reach. These numbers are taken at face value by the free utilities such as the Google Scholar Citation Count gadget by Jan Feyereisl and the sophisticated and pretty Publish or Perish (PoP) software (produced by Tarma Software).
As about 10.2 million records from GBS [Google Book Search] are incorporated now in GS, the metadata disaster likely will continue unabated. It is bad enough to have so many records with erroneous publication years, titles, authors, and journal names.
In its stupor, the parser fancies as author names (parts of) section titles, article titles, journal names, company names, and addresses, such as Methods (42,700 records), Evaluation (43,900), Population (23,300), Contents (25,200), Technique(s) (30,000), Results (17,900), Background (10,500), or—in a whopping number of records— Limited (234,000) and Ltd (452,000). The numbers kept growing by several hundred thousands hits for the cumulative total of the above ”authors” during the few days this paper was being written. More screenshots are available here.
Lost Authors
These errors could be considered relatively harmless if they did not affect the contributions of genuine, real scholars. But the biggest problem is when the mess replaces real scholars with ghost authors, leaving the former as lost authors.
[Our emphasis] Certainly the entire database isn’t rotten, just a few million records. That may be a relatively small percentage—Google won’t reveal the total number of records, and these are just my few forensic search test queries—but there’s ample cause for worry.
In case of GBS [Google Book Search], Google relied on its collective Pavlovian reflex to blame the publishers and libraries (meaning the librarians, catalogers, indexers) for the wrong metadata.
In the case of Google Scholar, these same Googlish arguments will not fly, because practically all the scholarly publishers gave Google—hats in hand—their digital archive with metadata. The idea was to have Google index it and drive traffic to the publishers’ sites.
Yes, GS has fixed fairly quickly some of the major errors that I earlier used to demonstrate its illiteracy and innumeracy, but have so far left millions of others untouched.
GS designers have sent very under-trained, ignorant crawlers/parsers to recognize and fetch the metadata elements on their own. Not all of the indexing/abstracting services are perfect and consistent, but their errors are dwarfed by the types and volume of those in GS. This is the perfect example of the lethal mix of ignorance and arrogance GS developers applied to metadata and relevance ranking issues.
The parsers have not improved much in the past five years despite much criticism. GS developers corrected some errors that got negative publicity, but these were Band-Aids, where brain surgery and extensive parser training is required. Without these, GS will keep producing similar errors on a mega-scale.

ที่มา http://www.resourceshelf.com/2009/09/24/google-scholar%E2%80%99s-ghost-authors-lost-authors-and-other-problems/

ข่าวประจำสัปดาห์ที่4

ความช่วยเหลือ
ทำความเข้าใจกับผลการค้นหา
ผลการค้นหาแต่ละรายการของ Google Scholar แสดงถึงเนื้อเรื่องของผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจมีบทความที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง หรือแม้แต่บทความเรื่องเดียวในหลายเวอร์ชัน ตัวอย่างเช่น ผลการค้นหาอาจประกอบด้วยกลุ่มบทความที่รวมถึงร่างบทความ บทความจากการประชุม บทความจากวารสาร และประชุมบทนิพนธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับการค้นคว้าวิจัยเดียวกัน การจัดกลุ่มบทความเหล่านี้ทำให้เราสามารถวัดผลกระทบของการค้นคว้าวิจัยได้แม่นยำขึ้น และแสดงการค้นคว้าวิจัยอื่นๆ ในสาขาเดียวกันได้ดีขึ้น
ผลการค้นหาแต่ละรายการจะมีข้อมูลบรรณานุกรม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน และแหล่งสิ่งตีพิมพ์ ข้อมูลบรรณานุกรมหนึ่งชุดจะเชื่อมโยงกับกลุ่มของบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเป็นการประเมินที่ดีที่สุดของเราต่อบทความตัวอย่างสำหรับกลุ่มนั้น ข้อมูลบรรณานุกรมนี้เป็นไปตามข้อมูลจากบทความในกลุ่ม เช่นเดียวกับการอ้างอิงถึงบทความเหล่านี้โดยผลงานทางวิชาการอื่นๆ


คำอธิบายเกี่ยวกับลิงก์
1.
ชื่อเรื่อง – ลิงก์ไปยังบทคัดย่อของบทความ หรือเมื่อมีบทความฉบับสมบูรณ์บนเว็บ
2.
อ้างอิงโดย – ระบุบทความอื่นที่ได้อ้างอิงถึงบทความในกลุ่ม
3.
บทความที่เกี่ยวข้อง – ค้นหาบทความอื่นที่คล้ายกับบทความในกลุ่มนี้
4.
Library Links (ออนไลน์) – ค้นหาตำแหน่งของผลงานในเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์จาก ทรัพยากรของห้องสมุด ทั้งหมดที่คุณเป็นสมาชิก ลิงก์เหล่านี้จะปรากฏขึ้นอัตโนมัติหากคุณอยู่ในวิทยาเขต
5.
Library Links (ออฟไลน์) – ค้นหาตำแหน่งของห้องสมุดซึ่งมีสำเนารูปเล่มของผลงานนั้น
6.
กลุ่มของ – ค้นหาบทความอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มผลงานทางวิชาการนี้ ซึ่งคุณอาจสามารถเข้าถึงได้ในเบื้องต้น ตัวอย่าง ได้แก่ ร่างบทความ บทคัดย่อ บทความจากการประชุม หรือบทความดัดแปลงอื่นๆ
7.
การค้นหาบนเว็บ – ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลงานนี้บน Google
8.
BL Direct – ซื้อบทความฉบับเต็มผ่าน British Library Google ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากบริการนี้
การค้นหาใน Google Scholar
ฉันจะค้นหาจากผู้เขียนได้อย่างไร
ป้อนชื่อผู้เขียนในเครื่องหมายอัญประกาศ: "d knuth". เมื่อต้องการเพิ่มจำนวนผลลัพธ์ ใช้อักษรตัวแรกแทนชื่อจริง
หากคุณพบว่ามีบทความที่กล่าวถึงผู้เขียนดังกล่าวมากเกินไป คุณอาจใช้ตัวดำเนินการ "ผู้เขียน:" เพื่อค้นหาผู้เขียนที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถลอง [ผู้เขียน:knuth], [ผู้เขียน:"d knuth"] หรือ [ผู้เขียน:"donald e knuth"]
ยังไม่ตรงตามที่ต้องการหรือ โปรดลองใช้ หน้าการค้นหาขั้นสูง ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู เคล็ดลับในการค้นหาขั้นสูง ของเรา
ฉันจะค้นหาจากชื่อเรื่องได้อย่างไร
ใส่ชื่อเรื่องของบทความในเครื่องหมายอัญประกาศ: "ประวัติศาสตร์ทะเลจีน" Google Scholar จะค้นหาบทความนั้นโดยอัตโนมัติ รวมทั้งบทความอื่นๆ ที่กล่าวถึงทะเลจีน
ฉันจะค้นหาการค้นคว้าวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งๆ ได้อย่างไร
เพียงคลิกที่ "บทความล่าสุด" ตรงด้านขวาของหน้าผลลัพธ์ใดๆ ผลลัพธ์ของคุณจะถูกจัดเรียงใหม่เพื่อให้คุณพบการค้นคว้าวิจัยที่ใหม่กว่าได้เร็วขึ้น การจัดลำดับใหม่นี้คำนึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความโดดเด่นของบทความก่อนๆ ของผู้เขียนหรือวารสารนั้น รวมทั้งบทความฉบับเต็มแต่ละเรื่อง และความถี่ที่มีการอ้างอิงถึง
บทความที่เกี่ยวข้องจะเชื่อมโยงไปที่ใด
สำหรับผลการค้นหาของ Google Scholar แต่ละรายการ เราพยายามที่จะระบุว่าบทความใดในดัชนีของเราที่เกี่ยวข้องมากที่สุดโดยอัตโนมัติ คุณสามารถดูรายการของบทความเหล่านี้ได้ โดยคลิกที่ลิงก์ "บทความที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งอยู่ถัดจากผลลัพธ์ต่างๆ ในเบื้องต้น รายการของบทความที่เกี่ยวข้องจะถูกจัดอันดับตามความคล้ายคลึงกับผลลัพธ์เดิม แต่ยังคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของบทความแต่ละเรื่องด้วยเช่นกัน การค้นหาชุดของบทความและหนังสือที่เกี่ยวข้องมักเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการทำให้ผู้เริ่มต้นคุ้นเคยกับหัวข้อ อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบางครั้งแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็อาจแปลกใจที่ค้นพบผลงานที่เกี่ยวข้องในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ
ฉันจะค้นหาบทความในสิ่งตีพิมพ์เฉพาะได้อย่างไร
ภายใน หน้าการค้นหาขั้นสูง คุณสามารถระบุคำหลักซึ่งต้องปรากฏทั้งในชื่อบทความและชื่อสิ่งตีพิมพ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู เคล็ดลับในการค้นหาขั้นสูง ของเรา
ฉันจะค้นหาจากประเภทได้อย่างไร
จาก หน้าการค้นหาขั้นสูง คุณสามารถค้นหางานเขียนทางวิชาการได้ภายในการค้นคว้าวิจัยเจ็ดสาขาทั่วไป เพียงทำเครื่องหมายเลือกที่ช่องสำหรับสาขาวิชาที่คุณสนใจจะค้นหา
เพราะเหตุใดจึงมีชื่อผู้เขียนอยู่ที่ด้านซ้ายของหน้าผลลัพธ์ของฉัน
เราจะแนะนำผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาของคุณโดยอัตโนมัติ – เพียงคลิกที่ชื่อผู้เขียน และคุณจะเห็นบทความของพวกเขา การค้นหาผู้เขียนซึ่งเผยแพร่เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณสนใจมักเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการทำความคุ้นเคยกับสาขาวิชาให้มากขึ้น และค้นพบผลงานที่เกี่ยวข้องซึ่งคุณอาจไม่พบหากไม่ใช่วิธีการนี้
คำถามทั่วไป
คุณรวมอะไรไว้ใน Google Scholar บ้าง
Google Scholar ครอบคลุมบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และงานเขียนทางวิชาการอื่นๆ จากการค้นคว้าวิจัยในสาขาทั่วไปทั้งหมด คุณจะพบผลงานจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการและแวดวงวิชาชีพที่หลากหลาย รวมทั้งบทความทางวิชาการที่มีอยู่ทั่วทั้งเว็บ นอกจากนี้ Google Scholar อาจรวมบทความหนึ่งเรื่องในเวอร์ชันต่างๆ ซึ่งคุณอาจสามารถเข้าถึงได้ในเบื้องต้น
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีรวมการค้นคว้าวิจัยของคุณไว้ใน Google Scholar
เพราะเหตุใดจึงไม่มีบทความของฉัน
เราได้ดำเนินการเพื่อรวมแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ และเป็นไปได้ที่คุณจะพบการเพิ่มเติมในดัชนีของเราในไม่ช้านี้ โปรดตรวจสอบดูว่าสามารถพบบทความอื่นๆ จากวารสาร การประชุม หรือคลังข้อมูลเดียวกันโดยใช้ Google Scholar ได้หรือไม่ หากไม่ได้ โปรดขอให้สำนักพิมพ์หรือแวดวงนักวิชาการให้ ติดต่อเรา เพื่อเราจะได้รวมเนื้อหาของพวกเขา
ผลลัพธ์ที่มีการทำเครื่องหมายว่า [การอ้างอิง] คืออะไร และเพราะเหตุใดฉันจึงคลิกที่ผลลัพธ์นั้นไม่ได้
มีบทความที่มีการอ้างอิงถึงโดยบทความทางวิชาการอื่นๆ แต่เราไม่พบแบบออนไลน์ งานเขียนทางวิชาการจำนวนมากยังอยู่ในรูปแบบออฟไลน์ และผลลัพธ์ที่มีการอ้างอิงเท่านั้นสามารถช่วยให้ผู้ค้นคว้าพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จนกว่าบทความเหล่านี้จะมีการออนไลน์
แต่ฉันเพิ่งพบการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือถึงบทความในวารสารการให้เหตุผลทางตรรกะของโพรซีเมียน! ฉันไม่สามารถอ่านบทความฉบับเต็มจากที่อื่นหรือ
บทความนั้นอาจมีอยู่ในหนังสือที่มีในห้องสมุดของคุณ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีการเปิดใช้งาน Library Links เพื่อดูว่าห้องสมุดของคุณอนุญาตให้คุณเข้าถึงบทความนั้นหรือไม่
ฉันสามารถเพิ่มการอ้างอิงแบบเต็มของผลลัพธ์บน Google Scholar ในโปรแกรมบริหารบรรณานุกรมของฉันได้อย่างไร
เพียงไปที่หน้า การตั้งค่า Scholar และเลือกรูปแบบการอ้างอิงที่ต้องการในส่วน "โปรแกรมบริหารบรรณานุกรม" ขณะนี้ เรารองรับ RefWorks, RefMan, EndNote และ BibTeX เมื่อบันทึกการตั้งค่าของคุณแล้ว คุณสามารถนำเข้าการอ้างอิงได้โดยคลิกลิงก์ที่ถูกต้องในผลการค้นหาบน Google Scholar ของคุณ
ฉันไม่ได้เป็นสมาชิกของห้องสมุดใดๆ มีวิธีอื่นที่ฉันสามารถอ่านฉบับเต็มแบบออนไลน์ได้ฟรีหรือไม่
อาจมี ร่างบทความ ฉบับร่าง และเวอร์ชันอื่นๆ ของบทความอาจมีอยู่ในแบบออนไลน์โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก เรามักจะให้ลิงก์ไปยังหลายเวอร์ชัน แต่โปรดระมัดระวัง: ร่างบทความอาจได้รับการแก้ไขที่สำคัญก่อนจะตีพิมพ์ และคุณอาจกำลังอ่านเอกสารที่มีการแก้ไขสาระสำคัญแล้ว ในบางกรณี บทความอาจไม่มีให้บริการฟรีไม่ว่าในรูปแบบใดๆ คำอธิบายของบทความของฉันไม่ถูกต้อง และฉันไม่พอใจพอสมควร ฉันจะแก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างไร
เราขออภัย และโปรดมั่นใจว่าเราไม่ได้ตั้งใจให้เกิดข้อผิดพลาดนั้นขึ้น การดึงข้อมูลโดยอัตโนมัติจากบทความต่างๆ ในหลายสาขาอาจมีความไม่แน่นอน ดังนั้น จึงมีข้อผิดพลาดเล็ดลอดออกมาเป็นบางครั้ง โปรดส่งการค้นหาที่แสดงบทความของคุณมาที่เรา พร้อมกับคำอธิบายที่ถูกต้องซึ่งควรปรากฏขึ้น เราอาจต้องใช้เวลาเล็กน้อยในการแก้ไขความผิดพลาดนี้ เนื่องจากมีสิ่งที่ต้องดำเนินการอีกมากเพื่อทำให้ Google Scholar ทำงานได้ดีขึ้นสำหรับทุกคน ขอขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือและความร่วมมือของคุณ
เพราะเหตุใดคุณจึงขอให้เรา "ยืนบนไหล่ของยักษ์" คุณเป็นยักษ์จริงๆ หรือ
ไม่สักนิดเดียว ข้อความนี้เป็นการยอมรับจากเราว่า การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการจำนวนมากเกิดขึ้นจากสิ่งที่ผู้อื่นได้ค้นพบแล้ว ซึ่งมาจากคำพูดที่โด่งดังของเซอร์ไอแซค นิวตัน "หากฉันได้เห็นมากกว่านี้ ก็เป็นเพราะยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์"

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งงาน การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC

การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC

แก้ไขหัวข้อโปรเจ็ก



ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

Google Scholar คืออะไร Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
คุณลักษณะของ Google Scholar
· ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
· ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
· ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
· เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
บทความมีการจัดอันดับอย่างไรGoogle Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ
หมายเหตุจากทีมงานของ Google Scholar โปรด แจ้งให้เราทราบ หากคุณมีข้อเสนอแนะ คำถาม หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับ Google Scholar เราตระหนักดีว่าเราเป็นหนี้บุคคลทุกคนในสถาบันการศึกษา ซึ่งผลงานของบุคคลเหล่านั้นได้ทำให้ Google เป็นจริงขึ้นมา และเราปรารถนาที่จะทำให้ Google Scholar เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้เท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสที่จะยืนบนไหล่ของยักษ์


ที่มา http://scholar.google.co.th/intl/th/scholar/about.html

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

8 ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากกรณีกูเกิ้ลถอนตัวออกจากจีน
Thu, 2010-03-25 21:52
หลังจากที่กูเกิ้ลประกาศถอนเว็บค้นหาข้อมูลออกจากจีน และตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็นของฮ่องกงที่ไม่มีการเซนเซอร์แทน เว็บไซต์ข่าวฮัฟฟิงตันโพสท์ ก็นำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากกูเกิ้ลถอนตัวจากจีน
หลังจากที่กูเกิ้ลประกาศถอนเว็บค้นหาข้อมูลออกจากจีน และบอกว่าพวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็นของฮ่องกงที่ไม่มีการเซนเซอร์แทน (www.google.com.hk)
เว็บไซต์ข่าวฮัฟฟิงตันโพสท์ (Huffington Post) ก็นำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากกูเกิ้ลถอนตัวจากจีนไว้ดังนี้
1. หยุดการเติบโตทางนวัตกรรมเว็บไซต์ Wired รายงานถึงการสำรวจของเนเจอร์นิวส์ (Nature News) ที่ระบุว่านักวิทยาศาสตร์จีนถึงร้อยละ 84 คิดว่าถ้าเขาไม่สามารถเข้าสู่กูเกิ้ลได้จะทำให้กระบวนการทำงานของพวกเขาเสียไป เช่นเดียวกับชาวอเมริกัน นักวิจัยชาวจีนก็ใช้กูเกิ้ล และกูเกิ้ลสกอลาร์ (Google Scholar) ในการค้นหาข้อมูล มีนักวิจัยคนหนึ่งกล่าวว่า การวิจัยโดยไม่มีกูเกิ้ลก็เหมือนชีวิตที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
2. การเซนเซอร์ยิ่งขยายตัวขณะที่กูเกิ้ลย้ายหนีจากจีนไปยังฮ่องกง แต่ประเทศจีนก็ตอบโต้ด้วยการบล็อกเว็บกูเกิ้ลในฮ่องกงเพราะไม่ต้องการให้คนจีนแผ่นดินใหญ่เห็นผลการค้นหาที่ไม่ถูกเซนเซอร์ แต่ก็อาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้รายอื่นด้วย เดอะ นิวยอร์กไทม์ รายงานว่าผู้ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์จากการค้นหาที่ถูกกรองในเว็บกูเกิ้ลฮ่องกงได้ เนื่องจากไฟร์วอลล์ของรัฐบาลจีนอาจใช้การจำกัดไม่ให้ค้นหาคำต้องห้ามหรือบล็อกลิงค์นั้น ๆ ไป ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนเคยทำกับกูเกิ้ลก่อนหน้านี้ แต่ในตอนนี้ผู้ใช้อีกมากกว่าล้านรายต้องเจอกับปัญหาการเข้าถึงเว็บ คนในกูเกิ้ลระบุอีกว่าพวกเขาตกใจและแปลกใจกับการตอบโต้ของจีน
3. ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แย่ลงการกระทำของกูเกิ้ลทำให้คนจีนบางคนแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง หลายคนถึงขั้นพาลไม่พอใจรัฐบาลสหรัฐฯ ไปด้วย สื่อรัฐบาลจีนวิจารณ์การที่กูเกิ้ลขู่จะถอนตัวออกจากจีนว่าเป็นการสมคบคิดทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐฯ เว็บไซต์ FT ระบุว่าการที่กูเกิ้ลย้ายเว็บค้นข้อมูลจากจีนไปฮ่องกง เป็นข้อพิสูจน์ว่าพื้นที่ส่วนนี้ของจีนเป็นเหมือนโอเอซิสแห่งเสรีภาพ แต่มันยังเป็นการทดสอบความอดทนของรัฐบาลจีนในประเด็นที่อ่อนไหวมาก เช่นที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนคนหนึ่งเคยพูดไว้หลังเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ว่า "ใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการโค่นล้มรัฐบาลของประชาชน"
4. ถูกตัดการบริการอื่นๆการถอนตัวของกูเกิ้ลทำให้บริการของกูเกิ้ลอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้ในจีนกระทบไปด้วย 'บริษัท ไชน่าโมบายล์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีบัญชีผู้ใช้ 527 ล้านราย ใช้กูเกิ้ลในการค้นหาและเป็นแผนที่ ผู้ใช้หลายล้านรายอาจไม่สามารถเข้าถึงบริการแผนที่ภาษาจีนได้ ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดของการถอนตัวของกูเกิ้ลอาจไปตกอยู่กับบริษัทของจีนซึ่งมีจำนวนมากที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้บริการโฆษณาของ AdWords รวมถึงจดหมายอิเล็กโทรนิคอย่าง Gmail
5. ผู้ถือหุ้นไม่พอใจ รายได้ลดแม้ว่ากูเกิ้ลจะทำรายได้จำนวนเพียงเล็กน้อยจากจีน แต่อย่างไรก็ตาม ZDNets รายงานว่า "คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ดคุณก็รู้ว่ากูเกิ้ลจะรู้สึกเจ็บกับการที่พวกเขาถูกกันออกจากตลาดอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก" Time ระบุว่า "นักวิเคราะห์ด้านการเงินบอกว่ารายได้ที่กูเกิ้ลได้จากจีนมีเพียงร้อยละ 1 ถึง 2 เมือเทียบกับรายได้จากทั่วโลก" แต่ในระยะยาวแล้วการถอนตัวออกจากตลาดที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดในโลกนั้น ดูไม่สมเหตุสมผลในแง่ธุรกิจเลย
6. การโฆษณาออนไลน์ก็ได้รับผลกระทบเว็บข่าวเทคโนโลยีของจีนทำลิสท์รายการโฆษณาในอินเตอร์เน็ตที่อาศัยเว็บกูเกิ้ลซึ่งจะสูญเสียพื้นที่ไปหากกูเกิ้ลถอนออกจากจีน และระบุว่า "การใช้ Adsense ของกูเกิ้ลในการโฆษณาของบริษัทจีน และการใช้กูเกิ้ลเป็นคู่หูทางการตลาดทำให้เกิดการเติบโตของสินค้าออนไลน์ในจีน" ซึ่งทั้งหมดนี้จะสูญเสียไป เว็บข่าวเทคโนโลยีของจีนบอกอีกว่า "จริงอยู่ที่การตลาดที่อาศัยเว็บค้นหาข้อมูลจะทำให้ง่ายกว่าเมื่อมุ่งเน้นไปที่เว็บค้นข้อมูลจำนวนไม่มาก แต่การมีทางเลือกที่มากขึ้นจะทำให้ชาวเน็ต, นักการตลาด และตัวสินต้าเองมีทางเลือกมากขึ้น"
7. แม้การเซนเซอร์ในจีนถูกเปิดโปง แต่ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นแม้ว่ากูเกิ้ลตัดสินใจหยุดการเซนเซอร์ผลการค้นหา และถึงขั้นสร้างเว็บเพื่อสอดส่องว่ามีข่าวสารใดบ้างที่ถูกบล็อกโดยรัฐบาลจีน
แต่ในขณะเดียวกัน การที่กูเกิ้ลถอนตัวจากจีนเพื่อทำตัวเหมือนเป็นฝ่ายพระเอกนั้น ZDNet ก็เตือนว่าการกระทำของกูเกิ้ลจะเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้ถือหุ้น และผู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเว็บ 2.0 ของกูเกิ้ล การที่กูเกิ้ลปิดสำนักงานในจีนกูเกิ้ลจะสูญเสียอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในระยะยาว กูเกิ้ลเองไม่ได้แม้แต่จะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญภายในจีนก่อนตัดสินใจเรื่องนี้เลย กูเกิ้ลต้องการคนเหล่านี้และต้องการพวกเราด้วย กูเกิ้ลจึงควรกลืนศักดิ์ศรีลงคอไปเสียและลองพิจารณาเรื่องนี้ดูอีกรอบ
8. ความเห็นด้านลบจากประชาชนขณะที่มีคนจำนวนมากชื่นชมการเคลื่อนไหวของกูเกิ้ลที่เป็นการต่อต้านการเซนเซอร์ แต่ก็มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนบางคนที่วิจารณ์การถอนตัวของกูเกิ้ล บีบีซีรายงานว่าขณะที่มีบางส่วนมารวมตัวกันหน้าสำนักงานในกรุงปักกิ่งเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ แต่ก็มีชาวจีนบางคนที่รู้สึกโกรธในเรื่องนี้
ในเว็บไซต์ sina.com.cn มีการให้ความเห้นว่า "กูเกิ้ลจงออกไปจากจีน" และ "ออกไปเสีย พวกเรามี Baidu อยู่แล้ว" (Baidu คือเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลสัญชาติจีน-ผู้แปล)
เศรษฐีของฮ่องกงจากบริษัทด้านโทรคมนาคมและอินเตอร์เน็ต TOM Online บอกว่าเขาจะหยุดใช้กูเกิ้ล


ที่มา http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28489

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2547 16:16 น. เนเจอร์- “กูเกิล” เปิดตัวระบบเสิร์ชเฉพาะทางฉบับทดลอง สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่ต้องการหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการชนิดละเอียดยิบ โดยคัดเลือกเฉพาะลิงค์มีคุณภาพ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ รองรับความต้องการของเหล่าผู้รอบรู้โดยเฉพาะ “กูเกิล” (google.com) เว็บไซต์บริการค้นหาข้อมูล หรือเสิร์ช เอนจิน (search engine) อันดับหนึ่งของโลก ได้เปิดตัว “กูเกิล สกอลาร์” (google scholar) ฉบับทดลอง (เบตา) ออกให้ใช้ฟรี เพื่อช่วยค้นหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการทั้งหลายแบบเจาะลึกครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ผ่านที่อยู่ หรือ ยูอาร์แอล http://scholar.google.com ซึ่งหวังว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจะสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะทางได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่นในการค้นหาวลีอย่าง “ฮิวแมน จีโนม” (human genome) ปกติแล้วกูเกิลธรรมดาจะแสดงผลเว็บที่เกี่ยวกับศูนย์พันธุกรรมต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงฐานข้อมูลและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมทั่วโลก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะมีประมาณ 450,000 รายการหรือมากกว่านั้น แต่กูเกิลสกอลาร์จะแสดงผลการค้นหาออกมาเพียงแค่ 113,000 รายการ และสิ่งที่พบก็ไม่ใช่เว็บไซต์ แต่เป็นผลงานการวิจัยในการสัมมนาต่างๆ เช่น รายการแรกที่พบเป็นบทความเรื่อง “อินนิเทียล ซีเควนซิง แอนด์ อนาไลซิส ออฟ เดอะ ฮิวแมน จีโนม” (Initial sequencing and anslysis of the human genome) ขณะที่กูเกิลเวอร์ชันปกติก็จะนำลิงค์องค์กรที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้ เป็นต้นเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์กูเกิล เปิดเผยว่า ข้อมูลที่ค้นพบจะถูกจัดลำดับ โดยเรียงตามความสำคัญของลิงค์ที่มาของเอกสารชิ้นนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มุ่งมองที่การค้นหาจำนวนลิงค์มาให้ได้มากที่สุด แต่มองกันที่คุณภาพของลิงค์ที่จะนำมาแสดงผล เช่น ลิงค์จากเว็บไซต์ของวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้านชีววิทยาชื่อดัง ย่อมจะมีความสำคัญมากกว่าลิงค์จากเว็บส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่งสำหรับเครื่องมือพื้นฐานของเจ้าสกอลาร์นี้มีหลักการคล้ายกับการค้นหาของเว็บกูเกิล ซึ่งเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์อย่างมีขั้นตอน และเป็นแผนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหน้าเว็บนั้นจะถูกเชื่อมต่อโดยพิจารณาจากความสำคัญและจำนวนผู้ใช้สูงสุดในการตอบรับการค้นหาโดยรูปแบบแล้วกูเกิล สกอลาร์จะทำการค้นหาโดยมองลึกลงไปถึงรายละเอียดของเนื้อหาและรูปแบบ เรียกได้ว่าดูทุกๆ หน้าของงานวิจัยชิ้นนั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการค้นหาแบบเก่าที่ปกติจะค้นหาแค่เพียงหัวข้อของงาน หากมีคำหรือวลีที่ตรงกับคำที่ระบุไว้ก็จะดึงมาเป็นลิงค์ ทั้งที่อาจจะไม่ใช่เรื่องนั้นเลย ส่วนฐานข้อมูลในการค้นหาของ “กูเกิล สกอลาร์” ฉบับทดลองนั้นได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มสำนักพิมพ์ของเนเจอร์ (Nature Publishing Group) สมาคมเครื่องกลและคอมพิวเตอร์ (the Association for Computing Machinery) และสถาบันไฟฟ้า (the Institute of Electrical) รวมถึงวิศวกรไฟฟ้า (Electronics Engineers) ซึ่งรวมอยู่ในระบบค้นหาที่เรียกว่า ครอสเรฟ เซิร์ช (CrossRef Search)นอกจากนี้ เมื่อผู้ใช้กูเกิลสำหรับนักวิจัยได้ค้นหาบทความต่างๆ ทางกูเกิลก็ค้นหาโดยละเอียดตามแหล่งข้อมูลที่กล่าวข้างต้น โดยเปิดให้ผู้ค้นหาได้คลิกกลับไปที่ไซต์เจ้าของบทความนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเว็บนั้นๆ กันไว้เป็นบทความเฉพาะสำหรับสมาชิก ก็จะเปิดอ่านได้หากสมัครสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ ไว้ แต่ถ้าไม่ ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครสมาชิกหรือจะได้อ่านส่วนสรุปของบทความ



ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000084855

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก




วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บริษัทพนันในอังกฤษขอซื้อหมึกยักษ์พอล




เครือข่ายรับพนันในอังกฤษสนใจเสนอซื้อหมึกยักษ์พอลจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเยอรมนี เพื่อไปเก็บไว้เอง หลังจากที่ทำนายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 100 %
วิลเลียม ฮิลล์ เครือข่ายรับพนันที่ถูกกฎหมายในอังกฤษ เกรงว่าการทำนายที่แม่นยำของหมึกยักษ์พอลจะส่งผลกระทบต่อฐานะของบริษัท จึงติดต่อไปยังพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ "ซีไลฟ์" ในเมืองโอเบอร์เฮาเซ่นขอซื้อพอลมาเก็บไว้เอง เพื่อไม่ให้ทำนายสิ่งใดอีก
ทั้งนี้มีรายงานว่า นักพนันที่เชื่อถือพอลมาตั้งแต่การทำนายครั้งแรก ถ้าวางเงินเดิมพันเริ่มต้นเพียง 10 ปอนด์ ( 480 บาท) จะสามารถทำเงินจากการชนะพนันได้ถึง 2,940 ปอนด์ (143,000 บาท) เมื่อถึงการทำนายครั้งสุดท้ายว่าสเปนจะเป็นแชมป์โลก
อย่างไรก็ตาม โฆษกของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ "ซี ไลฟ์" กล่าวว่า หมึกยักษ์พอลไม่ได้มีไว้ขาย โฆษกฯ ยอมรับว่ามีบริษัทพนันหลายแห่งและบริษัทอื่น ๆ ติดต่อขอซื้อพอล แต่ซีไลฟ์ยืนยันพอลจะอยู่สร้างความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ต่อไป
วิลเลียม ฮิลล์ ได้ออกราคารับพนันอนาคตของหมึกยักษ์พอล เริ่มตั้งแต่พอลจะมีคอลัมน์พยากรณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ พอลจะเป็นผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติอังกฤษคนต่อไป พอลจะถูกลักพาตัวโดยแฟนบอลเยอรมันที่ยังโกรธแค้น พอลจะถูกนักเตะเยอรมันจับกินเมื่อเดินทางกลับจากฟุตบอลโลก และพอลจะได้รับอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุดจากกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ของสเปน แต่ที่มีการออกราคาต่ำที่สุดคือพอลจะถูกย้ายไปอยู่ที่สเปน
ความแม่นยำในการทำนายผลฟุตบอลโลกของหมึกยักษ์พอล ทำให้ได้รับรางวัลถ้วยชนะเลิศฟุตบอลโลกจำลอง

สุดอึ้ง! แม่น้ำสายมรณะ คนแห่ฆ่าตัวตายนับพัน



เผยยอดชาวเกาหลีใต้แห่พยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำสายมรณะนับตั้งแต่ปี 2007 จนปัจจุบัน มีจำนวนสูงถึง 1,301 คน
(12ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีชาวเกาหลีใต้พยายามฆ่าตัวตายที่สะพานแม่น้ำฮัน หรือ แม่น้ำสายมรณะ เฉพาะตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน มีจำนวนถึง 232 ราย โดยมี 47 ราย สามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ จากการสำรวจพบว่า 166 รวย พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพาน ส่วนอีก 66 รายเป็นการเดินลงสู่แม่น้ำ และนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา มีชาวเกาหลีใต้พยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำสายนี้ถึง 1,301 คน มาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณทำให้แผนป้องกันความพยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำฮันของเกาหลีใต้ ดำเนินไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทีแรกตั้งใจจะติดกล้องวงจรปิดและราวป้องกัน แต่ปัจจุบันทำได้เพียงการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วน และโครงการรับปรึกษาป้องกันบุคคลฆ่าตัวตายแทนทั้งนี้ เกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่มีอัตราผู้หญิงฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่นับรวมญี่ปุ่นซึ่งมีสถิติผู้คนฆ่าตัวตายเป็นอันดับหนึ่ง

ช้างสัตว์ประจำชาติ




ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่เราอยู่ใกล้ไม่รู้จักกลัว คงจะเป็นเพราะเรารู้จักช้างมาตั้งแต่เด็ก และที่สำคัญช้างอยู่คู่เมืองไทยและคนไทยมาตั้งแต่โบราณ เราใช้ช้างเป็นพาหนะ เราใช้ช้างในการสงคราม เราถือว่าช้างเผือกเป็นช้างคู่บุญช้างคู่บารมีพระจักรพรรดิเป็นที่ 1 ใน 7 รัตนะ คือ “ช้างแก้ว” เราเชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น ครั้งหนึ่งเคย เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งมีช้างชื่อพญาฉัททันต์ เราใช้ช้าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ โดยธงชาติของเราก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ในสมัยรัชการที่ 6 เราใช้ธงช้างคือธงพื้นแดง มีช้างอยู่ตรงกลาง แม้เมือกรุงเทพ นี้ก็ใช้ตราสัญลักษณ์พระอินทร์ทรงช้าเอราวัณจนถึงบัดนี้

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แฉ-3-ทำเลทอง-ที่-นร.เลือกซ่อนหนังสือแอบครู

1. ฝ้าเพดาน

พี่แนนเห็นบางโรงเรียน ฝ้าเพด้านจะเปิดได้ใช่ใหม เลยมีน้องบางคน ต่อตัวกันเป็นกายกรรม ฝ่าฟันไปให้ถึงฝ้าเพดานแล้วแง้มออก จับหนังสือใส่เข้าไป หรือบางคนก็โชว์เดียวเอาเก้าอี้วางบนโต๊ะ แล้วเอื้อมมือไปให้ถึงฝ้าเพดานนั้น คนที่ซ่อนไว้ตรงนี้ ถ้ามีหลายคนหลายเล่มให้กระจายกันออกไป ไม่งั้นฝ้าพังแน่ ถ้าทำกันบ่อยๆ จะเริ่มถูกจับได้ เพราะฝ้ามีรอยนิ้วมือเต็มไปหมด อาจารย์รู้ทันที จบข่าว!!!

2. โต๊ะห้องปฎิบัตการ

พวกห้องแลปที่พี่แนนเห็น จะมีต้นั้นนี่เยอะมากมาย ทังตู้เก็บสารเคีเก็บอุปกรณ์ ยิ่งไม่ล็กกุญแจยิ่งหวานหมูอหรือจะเป็นอ่างล้างมือ ใต้อ่างจทำเหมือนตู้ข้างในก็มีท่อน้ำทิ้ง ท่อนั้นท่อนี้ น้องๆๆหลายคนได้ที เอาไปหนีบเอาไปเสียบตามท่อ จะเป็นพวกหนังสือเล่มไม่หนามากกับพวกสมุด วันดีคืนดีอ่างล้างมือตัน เปิดตู้ซ่อมเจอเหน็บเจอซุกกันเป็นรักนก อาจารย์จับได้ จบข่าว!!!

3. โต๊ะม้าหิน

โรงเรียนน้องๆ คงมีโต๊ะม้าหนกันใช่ใหม เป็นเหมือนโต๊ะที่ใว้ใช้ให้น้องๆนั่งคุยกัน นั่งเมาส์พักผ่อนกันบางโรงเรียนก็ตั้งใว้หลายที่ กระจายกันไปทั่วโรงเรียน สวนใหญ่ก็จะเห็นเป็นโต๊ะสี่เหลี่ยม ตรงกลางโกจะมีช่องว่าหน่อย เลยแอบเอาหนังสือไปซุกกันไว้ โดยเฉพาะโต๊ะที่หลับตาคนหน่อย ยิ่งซ่อนไว้นานยิ่งเป็นทำเลที่ดีที่สุด