ความช่วยเหลือ
ทำความเข้าใจกับผลการค้นหา
ผลการค้นหาแต่ละรายการของ Google Scholar แสดงถึงเนื้อเรื่องของผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจมีบทความที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง หรือแม้แต่บทความเรื่องเดียวในหลายเวอร์ชัน ตัวอย่างเช่น ผลการค้นหาอาจประกอบด้วยกลุ่มบทความที่รวมถึงร่างบทความ บทความจากการประชุม บทความจากวารสาร และประชุมบทนิพนธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับการค้นคว้าวิจัยเดียวกัน การจัดกลุ่มบทความเหล่านี้ทำให้เราสามารถวัดผลกระทบของการค้นคว้าวิจัยได้แม่นยำขึ้น และแสดงการค้นคว้าวิจัยอื่นๆ ในสาขาเดียวกันได้ดีขึ้น
ผลการค้นหาแต่ละรายการจะมีข้อมูลบรรณานุกรม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน และแหล่งสิ่งตีพิมพ์ ข้อมูลบรรณานุกรมหนึ่งชุดจะเชื่อมโยงกับกลุ่มของบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเป็นการประเมินที่ดีที่สุดของเราต่อบทความตัวอย่างสำหรับกลุ่มนั้น ข้อมูลบรรณานุกรมนี้เป็นไปตามข้อมูลจากบทความในกลุ่ม เช่นเดียวกับการอ้างอิงถึงบทความเหล่านี้โดยผลงานทางวิชาการอื่นๆ
ทำความเข้าใจกับผลการค้นหา
ผลการค้นหาแต่ละรายการของ Google Scholar แสดงถึงเนื้อเรื่องของผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจมีบทความที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง หรือแม้แต่บทความเรื่องเดียวในหลายเวอร์ชัน ตัวอย่างเช่น ผลการค้นหาอาจประกอบด้วยกลุ่มบทความที่รวมถึงร่างบทความ บทความจากการประชุม บทความจากวารสาร และประชุมบทนิพนธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับการค้นคว้าวิจัยเดียวกัน การจัดกลุ่มบทความเหล่านี้ทำให้เราสามารถวัดผลกระทบของการค้นคว้าวิจัยได้แม่นยำขึ้น และแสดงการค้นคว้าวิจัยอื่นๆ ในสาขาเดียวกันได้ดีขึ้น
ผลการค้นหาแต่ละรายการจะมีข้อมูลบรรณานุกรม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน และแหล่งสิ่งตีพิมพ์ ข้อมูลบรรณานุกรมหนึ่งชุดจะเชื่อมโยงกับกลุ่มของบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเป็นการประเมินที่ดีที่สุดของเราต่อบทความตัวอย่างสำหรับกลุ่มนั้น ข้อมูลบรรณานุกรมนี้เป็นไปตามข้อมูลจากบทความในกลุ่ม เช่นเดียวกับการอ้างอิงถึงบทความเหล่านี้โดยผลงานทางวิชาการอื่นๆ
คำอธิบายเกี่ยวกับลิงก์
1.
ชื่อเรื่อง – ลิงก์ไปยังบทคัดย่อของบทความ หรือเมื่อมีบทความฉบับสมบูรณ์บนเว็บ
2.
อ้างอิงโดย – ระบุบทความอื่นที่ได้อ้างอิงถึงบทความในกลุ่ม
3.
บทความที่เกี่ยวข้อง – ค้นหาบทความอื่นที่คล้ายกับบทความในกลุ่มนี้
4.
Library Links (ออนไลน์) – ค้นหาตำแหน่งของผลงานในเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์จาก ทรัพยากรของห้องสมุด ทั้งหมดที่คุณเป็นสมาชิก ลิงก์เหล่านี้จะปรากฏขึ้นอัตโนมัติหากคุณอยู่ในวิทยาเขต
5.
Library Links (ออฟไลน์) – ค้นหาตำแหน่งของห้องสมุดซึ่งมีสำเนารูปเล่มของผลงานนั้น
6.
กลุ่มของ – ค้นหาบทความอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มผลงานทางวิชาการนี้ ซึ่งคุณอาจสามารถเข้าถึงได้ในเบื้องต้น ตัวอย่าง ได้แก่ ร่างบทความ บทคัดย่อ บทความจากการประชุม หรือบทความดัดแปลงอื่นๆ
7.
การค้นหาบนเว็บ – ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลงานนี้บน Google
8.
BL Direct – ซื้อบทความฉบับเต็มผ่าน British Library Google ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากบริการนี้
การค้นหาใน Google Scholar
ฉันจะค้นหาจากผู้เขียนได้อย่างไร
ป้อนชื่อผู้เขียนในเครื่องหมายอัญประกาศ: "d knuth". เมื่อต้องการเพิ่มจำนวนผลลัพธ์ ใช้อักษรตัวแรกแทนชื่อจริง
หากคุณพบว่ามีบทความที่กล่าวถึงผู้เขียนดังกล่าวมากเกินไป คุณอาจใช้ตัวดำเนินการ "ผู้เขียน:" เพื่อค้นหาผู้เขียนที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถลอง [ผู้เขียน:knuth], [ผู้เขียน:"d knuth"] หรือ [ผู้เขียน:"donald e knuth"]
ยังไม่ตรงตามที่ต้องการหรือ โปรดลองใช้ หน้าการค้นหาขั้นสูง ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู เคล็ดลับในการค้นหาขั้นสูง ของเรา
ฉันจะค้นหาจากชื่อเรื่องได้อย่างไร
ใส่ชื่อเรื่องของบทความในเครื่องหมายอัญประกาศ: "ประวัติศาสตร์ทะเลจีน" Google Scholar จะค้นหาบทความนั้นโดยอัตโนมัติ รวมทั้งบทความอื่นๆ ที่กล่าวถึงทะเลจีน
ฉันจะค้นหาการค้นคว้าวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งๆ ได้อย่างไร
เพียงคลิกที่ "บทความล่าสุด" ตรงด้านขวาของหน้าผลลัพธ์ใดๆ ผลลัพธ์ของคุณจะถูกจัดเรียงใหม่เพื่อให้คุณพบการค้นคว้าวิจัยที่ใหม่กว่าได้เร็วขึ้น การจัดลำดับใหม่นี้คำนึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความโดดเด่นของบทความก่อนๆ ของผู้เขียนหรือวารสารนั้น รวมทั้งบทความฉบับเต็มแต่ละเรื่อง และความถี่ที่มีการอ้างอิงถึง
บทความที่เกี่ยวข้องจะเชื่อมโยงไปที่ใด
สำหรับผลการค้นหาของ Google Scholar แต่ละรายการ เราพยายามที่จะระบุว่าบทความใดในดัชนีของเราที่เกี่ยวข้องมากที่สุดโดยอัตโนมัติ คุณสามารถดูรายการของบทความเหล่านี้ได้ โดยคลิกที่ลิงก์ "บทความที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งอยู่ถัดจากผลลัพธ์ต่างๆ ในเบื้องต้น รายการของบทความที่เกี่ยวข้องจะถูกจัดอันดับตามความคล้ายคลึงกับผลลัพธ์เดิม แต่ยังคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของบทความแต่ละเรื่องด้วยเช่นกัน การค้นหาชุดของบทความและหนังสือที่เกี่ยวข้องมักเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการทำให้ผู้เริ่มต้นคุ้นเคยกับหัวข้อ อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบางครั้งแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็อาจแปลกใจที่ค้นพบผลงานที่เกี่ยวข้องในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ
ฉันจะค้นหาบทความในสิ่งตีพิมพ์เฉพาะได้อย่างไร
ภายใน หน้าการค้นหาขั้นสูง คุณสามารถระบุคำหลักซึ่งต้องปรากฏทั้งในชื่อบทความและชื่อสิ่งตีพิมพ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู เคล็ดลับในการค้นหาขั้นสูง ของเรา
ฉันจะค้นหาจากประเภทได้อย่างไร
จาก หน้าการค้นหาขั้นสูง คุณสามารถค้นหางานเขียนทางวิชาการได้ภายในการค้นคว้าวิจัยเจ็ดสาขาทั่วไป เพียงทำเครื่องหมายเลือกที่ช่องสำหรับสาขาวิชาที่คุณสนใจจะค้นหา
เพราะเหตุใดจึงมีชื่อผู้เขียนอยู่ที่ด้านซ้ายของหน้าผลลัพธ์ของฉัน
เราจะแนะนำผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาของคุณโดยอัตโนมัติ – เพียงคลิกที่ชื่อผู้เขียน และคุณจะเห็นบทความของพวกเขา การค้นหาผู้เขียนซึ่งเผยแพร่เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณสนใจมักเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการทำความคุ้นเคยกับสาขาวิชาให้มากขึ้น และค้นพบผลงานที่เกี่ยวข้องซึ่งคุณอาจไม่พบหากไม่ใช่วิธีการนี้
คำถามทั่วไป
คุณรวมอะไรไว้ใน Google Scholar บ้าง
Google Scholar ครอบคลุมบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และงานเขียนทางวิชาการอื่นๆ จากการค้นคว้าวิจัยในสาขาทั่วไปทั้งหมด คุณจะพบผลงานจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการและแวดวงวิชาชีพที่หลากหลาย รวมทั้งบทความทางวิชาการที่มีอยู่ทั่วทั้งเว็บ นอกจากนี้ Google Scholar อาจรวมบทความหนึ่งเรื่องในเวอร์ชันต่างๆ ซึ่งคุณอาจสามารถเข้าถึงได้ในเบื้องต้น
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีรวมการค้นคว้าวิจัยของคุณไว้ใน Google Scholar
เพราะเหตุใดจึงไม่มีบทความของฉัน
เราได้ดำเนินการเพื่อรวมแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ และเป็นไปได้ที่คุณจะพบการเพิ่มเติมในดัชนีของเราในไม่ช้านี้ โปรดตรวจสอบดูว่าสามารถพบบทความอื่นๆ จากวารสาร การประชุม หรือคลังข้อมูลเดียวกันโดยใช้ Google Scholar ได้หรือไม่ หากไม่ได้ โปรดขอให้สำนักพิมพ์หรือแวดวงนักวิชาการให้ ติดต่อเรา เพื่อเราจะได้รวมเนื้อหาของพวกเขา
ผลลัพธ์ที่มีการทำเครื่องหมายว่า [การอ้างอิง] คืออะไร และเพราะเหตุใดฉันจึงคลิกที่ผลลัพธ์นั้นไม่ได้
มีบทความที่มีการอ้างอิงถึงโดยบทความทางวิชาการอื่นๆ แต่เราไม่พบแบบออนไลน์ งานเขียนทางวิชาการจำนวนมากยังอยู่ในรูปแบบออฟไลน์ และผลลัพธ์ที่มีการอ้างอิงเท่านั้นสามารถช่วยให้ผู้ค้นคว้าพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จนกว่าบทความเหล่านี้จะมีการออนไลน์
แต่ฉันเพิ่งพบการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือถึงบทความในวารสารการให้เหตุผลทางตรรกะของโพรซีเมียน! ฉันไม่สามารถอ่านบทความฉบับเต็มจากที่อื่นหรือ
บทความนั้นอาจมีอยู่ในหนังสือที่มีในห้องสมุดของคุณ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีการเปิดใช้งาน Library Links เพื่อดูว่าห้องสมุดของคุณอนุญาตให้คุณเข้าถึงบทความนั้นหรือไม่
ฉันสามารถเพิ่มการอ้างอิงแบบเต็มของผลลัพธ์บน Google Scholar ในโปรแกรมบริหารบรรณานุกรมของฉันได้อย่างไร
เพียงไปที่หน้า การตั้งค่า Scholar และเลือกรูปแบบการอ้างอิงที่ต้องการในส่วน "โปรแกรมบริหารบรรณานุกรม" ขณะนี้ เรารองรับ RefWorks, RefMan, EndNote และ BibTeX เมื่อบันทึกการตั้งค่าของคุณแล้ว คุณสามารถนำเข้าการอ้างอิงได้โดยคลิกลิงก์ที่ถูกต้องในผลการค้นหาบน Google Scholar ของคุณ
ฉันไม่ได้เป็นสมาชิกของห้องสมุดใดๆ มีวิธีอื่นที่ฉันสามารถอ่านฉบับเต็มแบบออนไลน์ได้ฟรีหรือไม่
อาจมี ร่างบทความ ฉบับร่าง และเวอร์ชันอื่นๆ ของบทความอาจมีอยู่ในแบบออนไลน์โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก เรามักจะให้ลิงก์ไปยังหลายเวอร์ชัน แต่โปรดระมัดระวัง: ร่างบทความอาจได้รับการแก้ไขที่สำคัญก่อนจะตีพิมพ์ และคุณอาจกำลังอ่านเอกสารที่มีการแก้ไขสาระสำคัญแล้ว ในบางกรณี บทความอาจไม่มีให้บริการฟรีไม่ว่าในรูปแบบใดๆ คำอธิบายของบทความของฉันไม่ถูกต้อง และฉันไม่พอใจพอสมควร ฉันจะแก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างไร
เราขออภัย และโปรดมั่นใจว่าเราไม่ได้ตั้งใจให้เกิดข้อผิดพลาดนั้นขึ้น การดึงข้อมูลโดยอัตโนมัติจากบทความต่างๆ ในหลายสาขาอาจมีความไม่แน่นอน ดังนั้น จึงมีข้อผิดพลาดเล็ดลอดออกมาเป็นบางครั้ง โปรดส่งการค้นหาที่แสดงบทความของคุณมาที่เรา พร้อมกับคำอธิบายที่ถูกต้องซึ่งควรปรากฏขึ้น เราอาจต้องใช้เวลาเล็กน้อยในการแก้ไขความผิดพลาดนี้ เนื่องจากมีสิ่งที่ต้องดำเนินการอีกมากเพื่อทำให้ Google Scholar ทำงานได้ดีขึ้นสำหรับทุกคน ขอขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือและความร่วมมือของคุณ
เพราะเหตุใดคุณจึงขอให้เรา "ยืนบนไหล่ของยักษ์" คุณเป็นยักษ์จริงๆ หรือ
ไม่สักนิดเดียว ข้อความนี้เป็นการยอมรับจากเราว่า การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการจำนวนมากเกิดขึ้นจากสิ่งที่ผู้อื่นได้ค้นพบแล้ว ซึ่งมาจากคำพูดที่โด่งดังของเซอร์ไอแซค นิวตัน "หากฉันได้เห็นมากกว่านี้ ก็เป็นเพราะยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น